จำนวนผู้ชม

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย



การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย
ต้องคำนึงว่าทำอย่างไร จะใช้ไฟฟ้าคุ้มค่าประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด ควรจะต้องเริ่มตั้งแต่รู้จักวิธีการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพให้เหมาะสมต่อการใช้งานตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจ
ในเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถ่องแท้จึงจะใช้เครื่องไฟฟ้าอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดพลังงานและยังมีผลดีต่อส่วนรวมของประเทศ
ในแง่ของการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ไฟฟ้ามีประโยชน์มากมายก็จริงแต่ในขณะเดียวกันก็มีอันตรายอยู๋ในตัวของมันเอง ถ้าใช้ผิดวิธีอาจเป็นอัตรายถึงชีวิตได้ เพราะความประมาทหรือเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยอาจนำมาซึ่งความหายนะและความสูญเสียต่างๆ แม้กระทั้งชีวิตของตัวผู้ใช้เอง
ผู้ใช้ไฟฟ้าจึงมีความจำเป็นต้องศึก1.ควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนว่าจ้างบริษัทหรือช่างที่จะดำเนินการออกแบบและเดินสายติดตั้งระบบไฟฟ้า
ว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความรู้ความชำนาญเท่านั้น
2.อุปกรณ์การติดตั้งทางไฟฟ้าต้องเป็นชนิดที่ได้รับมาตรฐานต่างๆ เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)
UL, VDE, IEC เป็นต้น
3.การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
4.ก่อนใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องอ่านและศึกษาคู่มือแนะนำการใช้งานให้เข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
5.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเปลือกหุ้มภายนอกทำด้วยโลหะทุกชนิด เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาจมีไฟฟ้ารั่วมากับน้ำจำเป็นต้องมีการต่อ
สายดินภายในบ้าน และใช้เต้าเสียบชนิดที่มีขั้วสายดินกับเต้ารับชนิดมีขั้วสายดินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ เช่น ตู้เย็น เตารีด หม้อหุงข้าว เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า หม้อต้มน้ำร้อน กระทะไฟฟ้า
เครื่องทำน้ำอุ่น เตาไฟฟ้า
เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
6.เมื่อร่างกายเปียกชื้น ห้ามแตะต้องส่วนที่มีไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอันขาดเพราะอาจมีไฟรั่ว และความต้านทานไฟฟ้าของผิวหนังที่เปียกชื้นลดลงอย่างมากทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านร่างกายได้โดยสะดวก
อาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นในการอาบน้ำ นอกจากจะต้องติดตั้งสายดินแล้ว จะต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพื่อเสริมการทำงานของสายดินให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย
7.ในการเดินสายไฟหรือลากสายไฟไปใช้งานนอกอาคารชั่วคราวหรือถาวร เช่น งานก่อสร้าง , ต่อเติม , ปรับปรุงนอกอาคาร นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเต้ารับนั้นจะต้องมีเครื่องตัดไฟรั่วด้วย จึงจะปลอดภัย
8.ควรแยกวงจรไฟฟ้าที่น้ำอาจท่วมถึง เช่น บริเวณชั้นล่างของอาคาร เพื่อให้สามารถปลดไฟออกได้ทันทีเมื่อเกิดน้ำท่วมหรืออาจป้องกันวงจรที่แยกออกนี้ด้วยเครื่องตัดไฟรั่วก็ได้
9.หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
10.ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตสิ่งผิดปกติจากสี กลิ่น เสียง และการสัมผัสอุณหภูมิ รวมทั้งการใช้เครื่องมือง่ายๆ เช่น
ไขควงหลอดไฟ เป็นต้น ตัวอย่างการสังเกต เช่น สีของสายเปลี่ยน มีกลิ่นไหม้ มีรอยเขม่า หรือรอยไหม้ มือจับสวิตช์ไฟหรือปลั๊กไฟแล้วรู้สึกอุ่นๆ เหล่านี้แสดงว่ามีความร้อนผิดปกติเกิดขึ้น อาจเกิดจากจุดต่อต่างๆ ไม่แน่นเต้าเสียบเต้ารับหลวม เป็นต้น
11.อย่าพยายามใช้ไฟฟ้าหรือเปิดสวิตช์ไฟฟ้า เช่น พัดลมระบายอากาศในบริเวณที่มีไอของสารระเหยหรือก๊าซที่ไวไฟปกคลุมอยู่เต็มพื้นที่
เช่น ก๊าซหุงต้ม ทินเนอร์ หรือไอน้ำมันเบนซิน
12.ให้ระมัดระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าราคาถูกที่ผลิตแบบไม่ได้มาตรฐาน นอกจากจะมีอายุการใช้งานสั้นแล้ว อาจไม่ปลอดภัยในการใช้งานโดยเฉพาะเรื่องอัคคีภัย
13.อุปกรณ์ที่มีการเสียบปลั๊กทิ้งไว้นานๆโดยที่ไม่มีผู้ดูแล เช่น หลอดไฟทางเดินหรือบันได, หม้อแปลงไฟขนาดเล็ก (ที่เรียกกันว่าอะแดปเตอร์) เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ขนาดเล็ก เป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ให้หลีกเลี่ยงการใช้ในบริเวณที่มีวัสดุติดไฟได้อยู่ใกล้ๆ
14.ทุกครั้งที่เลิกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ปิดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนและถอดปลั๊กออกจากเต้ารับทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดง่าย
15.อย่าพยายามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตนเองหรือโดยช่างที่ไม่มีความรู้ความชำนาญไม่เพียงพอเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท
จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ ตรวจสอบด้านความปลอดภัย เช่น เตาไมโครเวฟ ต้องมีการตรวจสอบของการรัวของคลื่นไมโครเวฟไม่ให้มีมากเกินอันตรายที่กำหนด หรือเครื่องใช้ที่มีสายดินต้องตรวจสอบความต่อเนื่องและฉนวนของสายดินกับสายศูนย์ เป็นต้น
16.หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือไฟฟ้าในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เช่น โทรทัศน์ วีดีโอ เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร โทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ชำรุดเสียหายเมื่อมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียง ให้ปิดเครื่องถอดปลั๊กรวมทั้งสายอากาศ และสายโทรศัพท์ออกจากเครื่องทุกครั้ง
17.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควบคุมการปิด-เปิด ด้วยรีโมทคอนโทรล หรือปุ่มสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์ โทรทัศน์ เครื่องเสียงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เมื่อปิดเครื่องจะมีไฟเลี้ยงวงจรควบคุมอยู่ตลอดเวลา จึงมักมีตัวอย่างของการเกิดอุปกรณ์ควบคุมภายในชำรุด และบางครั้งทำให้เกิดไฟลุกไหม้ทรัพย์สินเสียหายอยู่เสมอ ดั้งนั้นจึงควรถอดปลั๊ก หรือติดตั้งวงจรสวิตช์ตัดต่อวงจร เพื่อปลดไฟออกทุกครั้งที่เลิกใช้งาน
18.ฝึกฝนให้รู้จักวิธีแก้ไขและป้องกันรวมทั้งช่วยเหลือปฐมพยาบาล เมื่อมีอุบัติเหตุทางไฟฟ้าเกิดขึ้น ษาวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยควบคู่ไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น