จำนวนผู้ชม

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เอ็ดดูเวิลด์ ขอแนะเคล็บลับการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน


เอ็ดดูเวิลด์ ขอแนะเคล็บลับการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน
“เอ็ดดูเวิลด์
แนะ แนวทางเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนอย่างไรไม่ให้ถูกหลอก”


ผู้ให้สัมภาษณ์
คุณณัฐนิชา สถิตย์จินดาวงศ์ General Manager : Eduworld Overseas Study Center

โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนถือกำเนิดขึ้นมาจากแนวคิดของรัฐบาลอเมริกาในการแลกเปลี่ยนนักเรียนระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในหมู่เยาวชนว่า ถึงแม้มนุษย์ในโลกนี้มีความแตกต่างด้านความเป็นอยู่และวัฒนธรรม ภาษาที่ใช้ อาหารการกิน การแต่งกาย และท่าทาง สีผิวที่ต่างกัน แต่ในความต่างนี้ มนุษย์เราก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเข้าใจและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันของมวลมนุษยชาติ อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข


แนวคิดนี้ได้นำมาเป็นรูปธรรมโดยเป็นโครงการทำกันอย่างจริงจัง มามากกว่า 50 ปี โดยการนำนักเรียนในประเทศอื่นมาอยู่กับครอบครัวอเมริกันที่อาสาให้ที่พักและอาหารกับนักเรียนโดยต้องการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้วัฒนธรรมอื่นด้วย ในระยะแรกๆ มีการประเมินผลและได้ผลเป็นอย่างดี จึงเริ่มมีมูลนิธิต่างๆในอเมริกาทำโครงการนี้ร่วมกับรัฐบาลมากขึ้น และมีการขยายไปยังประเทศอื่นด้วยเช่น ประเทศในทวีปยุโรป และอเมริกาใต้ ออสเตรเลีย


ในปัจจุบันมีความต้องการนักเรียนจากประเทศในทวีปเอเชียมากขึ้น จึงมีการให้โควต้าแก่นักเรียนในประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วย ในปัจจุบัน จึงมีนักเรียนไทยที่เข้าร่วมโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน พร้อมกับมีองค์กรที่ประสานงานด้านนี้เพิ่มมากขึ้นด้วย


ลักษณะของโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนโดยทั่วไป เป็นการคัดเลือกนักเรียนที่ถือสัญชาติไทยที่มีทัศนคติที่ดี มีใจเปิดกว้างในการเรียนรู้สิ่งใหม่ เป็นตัวแทนเด็กไทยที่ดี อายุระหว่าง 14 – 18 ปี เข้าเรียนร่วมกับนักเรียนอเมิรกันในโรงเรียนมัธยมของรัฐบาล เป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา (ประมาณ 10 เดือน) โดยพักอยู่ร่วมกับครอบครัวอาสาสมัคร โดยนักเรียนควรเข้าร่วมกับกิจกรรมต่างๆในโรงเรียนเช่น เข้าชมรมกีฬาต่างๆ และกิจกรรมของมูลนิธิเช่น การทำกิจกรรมเพื่อสังคมอาทิเช่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุแคทีน่า อ่านหนังสือให้คนชรา เก็บขยะตามชายหาด รวมทั้ง เข้าร่วมกิจกรรมในครอบครัว และท่องเที่ยวตามโอกาส


สำหรับโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนของ EduWorld จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 6 โดยมีนักเรียนจนถึงปัจจุบันกว่าร้อยคน ก่อนเริ่มทำโครงการนี้ EduWorld ดำเนินงานเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาศึกษาต่อมากว่า 20 ปี ( ก่อตั้งปี 1987) ได้ทำการศึกษาและค้นคว้าความเป็นมาโครงการและประวัติมูลนิธิต่างๆพร้อมทั้งเดินทางไปเยี่ยมชมมูลนิธิที่ประเทศอเมริกา ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ และครอบครัวอาสาสมัครก่อนเริ่มประกาศรับสมัครโครงการ




คุณณัฐนิชา สถิตย์จินดาวงศ์ General Manager : Eduworld Overseas Study Center กล่าวถึง
สิ่งที่ EduWorld คาดหวังว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกท่านจะได้รับคือ “ทักษะภาษาอังกฤษควรจะดีขึ้น (อย่างน้อย 70 %) สองคือมีทักษะสังคมเพิ่มขึ้นและอยู่ร่วมกับผู้อื่น 50 % และสุดท้าย คือเด็กทุกคนจะต้องช่วยเหลือและดูแลตนเองได้ดีขึ้น ซึ่ง EduWorld จะยึดหลักในการดำเนินจุดนี้ว่า นักเรียนแลกเปลี่ยนทุกคนคือยุวทูต เป็นตัวแทนคนไทย ประเทศไทย เป็นทูตทางวัฒนธรรมของชาติ จึงทำให้ทาง EduWorld จะเน้นจัดปฐมนิเทศ และเข้าค่ายโดยรุ่นพี่สอนรุ่นน้อง เพื่อเน้นย้ำให้นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกทำหน้าที่นี้อย่างดี เพื่อให้ชาวต่างชาติรู้จักเมืองไทยประทับใจความเป็นไทย และ คนไทย นอกจากนี้ เมื่อจบโครงการ ทาง EduWorld จัดให้มีปัจฉิมนิเทศ เพื่อ ติดตามความเปลี่ยนแปลงของนักเรียน และ มุ่งเน้น ให้ นักเรียนนำสิ่งที่ดีในต่างแดน มาพัฒนาตนเอง และประเทศชาติ ในมุมกว้าง โครงการนี้ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีต่อกันของมวลมนุษยชาติให้ผู้คนทั่วโลกอยู่ร่วมกันได้อย่างเข้าใจและสันติสุข”


และจากการให้บริการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนักเรียนที่ผ่านมาของ Eduworld มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดหา และ Match Host Family ให้แก่นักเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและอาศัยเวลาพอสมควร ในการหาครอบครัวที่เหมาะสม ทั้งด้านฐานะ ความเป็นอยู่ บุคลิก อุปนิสัยและความชอบที่เข้ากันได้กับนักเรียน นอกจากนี้ การ Matching ยังยากและซับซ้อนขึ้นไปอีก ในเงื่อนไขที่ว่า ครอบครัวอาสาสมัครและโรงเรียนต้องอยู่ในระยะที่กำหนดไว้ด้วย


นอกจากนี้ การปรับตัวของนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ดำเนินโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนควรจะต้องมี tools ต่างๆเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้น้องๆ ทั้งก่อนการเดินทาง (ที่ EduWorld จัดให้มีการประชุมอย่างน้อย 3 ครั้ง และให้หลักสูตรเตรียมความพร้อมด้านภาษาแก่นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือก) สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ การติดตามดูแลน้องๆในระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกที่ไปถึงซึ่งเป็นช่วงแห่งการปรับตัว
ดังนั้นในส่วนของการดูแลนักเรียนของEduworld ณัฐนชา กล่าวว่า “เรามีการติดต่อประสานงานอย่างใกล้ชิดกับมูลนิธิที่อเมริกา นักเรียนทุกคนจะอยู่ภายใต้การดูแลของ CR หรือ ที่ปรึกษา ซึ่งจะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือนักเรียนในทันทีที่เกิดปัญหา นอกจากนี้ Counsellor ของ Eduworld ยังติดต่อกับนักเรียน ทั้งทาง Email และโทรศัพท์ ตลอด ในกรณีที่นักเรียนเกิดปัญหา ทางเจ้าหน้าที่ของเรา จะเป็นผู้ดำเนินการ ประสานงานกับมูลนิธิต่างประเทศและให้คำปรึกษาแก่นักเรียนโดยตรง เพื่อแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด


ด่านแรกที่ต้องผ่านการทดสอบคือ เรื่องภาษา
สำหรับวิธีการเตรียมตัวสำหรับนักเรียนที่สนใจเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน คุณณัฐนิชา กล่าวว่า “น้องๆควรเตรียมตัวเรื่องภาษาโดยเฉพาะทักษะการฟังและพูด เพราะเป็นด่านแรกที่จะต้องผ่านในการทดสอบ นอกจากนี้ ควรจะต้องดูหนัง ฟังเพลง ประเทศที่เป็นจุดมุ่งหมายของเราให้มากๆ เพื่อความเข้าใจในวัฒนธรรม และนำไปใช้ในการปรับตัว ให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในต่างแดนอย่างคุ้มค่า
ส่วนเกณฑ์ในการเลือกประเทศปลายทางที่ต้องการไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน เห็นว่าน้องๆควรจะมีความสนใจในวัฒนธรรมประเทศนั้นๆ และหากต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ก็ควรเลือกประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ อังกฤษ เป็นต้น


ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มประมาณ 2 – 3 แสนบาท
ในส่วนของค่าใช้จ่ายนั้น โดยปกติแล้วเวลาที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะส่งลูกไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศจะต้องเสียค่าใช้จ่าย ดังนี้คือ
1. ทุนสมทบที่ให้กับโครงการซึ่งมีตั้งแต่ 4,900 – 6,900 เหรียญ (ขึ้นอยู่กับความสามรถของนักเรียน) โดยเงินจำนวนนี้ ครอบคลุมค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก 1 ปีการศึกษา
2. Pocket Money นักเรียน เพื่อใช้เป็นค่าอาหารกลางวันและค่าใช้จ่ายจุกจิกอื่นๆในชีวิตประจำวัน โดยเฉลี่ย 100 – 300 เหรียญ ต่อเดือน ขึ้นกับการใช้จ่ายของนักเรียน
3. ค่าตั๋วเครื่องบิน และค่าธรรมเนียมวีซ่า
(ค่าตั๋วเครื่องบิน 60,000-80,000 บาท ราคาตั๋วขึ้นอยู่กับระยะทางและเมืองที่ไปอยู่
ค่าธรรมเนียมวีซ่า 4000บาท)
โดยสรุป ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประมาณ 250,000 – 350,000 บาท
คุณณัฐนิชา กล่าวต่อว่า “จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของ Eduworld พบว่ามีเรื่องที่พ่อแม่กังวลใจหรือเป็นห่วงเกี่ยวกับการส่งลูกไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ส่วนใหญ่เรื่อง ครอบครัวอาสาสมัคร จะเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่เป็นห่วงมากที่สุดค่ะ ความกังวลของคุณพ่อคุณแม่ ส่วนใหญ่จะกลัวว่าครอบครัวจะมีนิสัยใจคอที่เข้ากับลูกของตนไม่ได้ หรือ ดูแลลูกของตนได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองหรือเยาวชนอยากเลือกใช้บริการแลกเปลี่ยนนักเรียนจากบริษัทเอกชนต่าง ๆ ที่ให้บริการทั่วไป ควรจะใช้กรอบหรือหลักเกณฑ์ใดในการพิจารณาคัดเลือกบริษัทให้เหมาะสมและน่าไว้วางใจ เพื่อไม่ให้ถูกหลอก ดังนี้คือ
1. พิจารณาประสบการณ์การบริหารโครงการ เช่น เคยดูแลบริหารโครงการนี้มาก่อนหรือไม่
2. ความมั่นคงและน่าเชื่อถือขององค์กร มีผู้อ้างอิงได้หรือไม่
3. การให้ข้อมูลอย่างถูกต้องและตรวจสอบได้ เช่น ข้อมูลต่างๆเป็นความจริงหรือไม่ มูลนิธิในเมืองนอกที่องค์กรประสานงานมีตัวตนจริงหรือไม่”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น