จำนวนผู้ชม

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การควบคุมมอเตอร์เบื้องต้น


มอเตอร์ เป็นเครื่องกลเพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ด้วยส่วนหมุนได้ที่พันด้วยขดลวด

เป็นกระบวนการย้อนกลับของ ไดนาโม หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

มักเป็นส่วนประกอบสำคัญใน เครื่องกล เครื่องจักรกลอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องอัดลม พัดลม เครื่องลำเลียง เครื่องเล่นแผ่นดิสก์ ฯลฯ

มอเตอร์ลากจูง (Traction motor) ซึ่งใช้ในยานยนต์และรถไฟ สามารถหมุนได้ทั้งสองทิศทาง

มอเตอร์ ต้องต่อวงจรไฟฟ้าเข้ากับ แหล่งกำเนิดไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ (สำหรับ มอเตอร์กระแสตรง ในเครื่องกลหรือยานยนต์) หรือการจ่ายกระแสไฟฟ้าจาก โรงงานไฟฟ้า (สำหรับ มอเตอร์กระแสสลับ ในเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน)

มอเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ที่ใช้งานได้จริงในปัจจุบัน ได้แก่ มอเตอร์ใน นาฬิกาข้อมือไฟฟ้า มอเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ที่อยู่ระหว่างพัฒนา ได้แก่ มอเตอร์นาโน (เล็กกว่าเส้นผม 300 เท่า) มอเตอร์ขนาดกลางมาตรฐานสูง มักเป็นส่วนประกอบในเครื่องจักรกลอุตสาหกรรม มอเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ในท่อขับระวางของเรือเดินสมุทร (ใช้กำลังไฟนับพัน กิโลวัตต์)

หลักการทางฟิสิกส์ ในการผลิตพลังงานกลด้วยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นที่รู้จักกันเมื่อตอนต้น ค.ศ. 1821

มอเตอร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์มาตลอด คริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่เมื่อเครื่องกลใช้มอเตอร์มากขึ้น ปริมาณความต้องการพลังงานไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประเภท
1.1 เปรียบเทียบ
1.2 ความสามารถรอบบิด
2 หลักการทำงาน
3 ประวัติ
3.1 มอเตอร์แท้ตัวแรก
4 มอเตอร์กระแสตรง
4.1 มอเตอร์กระแสตรงมีแปรงถ่าน
4.2 มอเตอร์กระแสตรงไร้แปรงถ่าน
5 มอเตอร์ยูนิเวอร์แซล
6 มอเตอร์กระแสสลับ
6.1 ส่วนประกอบ
7 มอเตอร์รอบบิด
8 แหวนลื่น
9 มอเตอร์สเตป
10 มอเตอร์ลีเนียร์
11 เครื่องกลเหนี่ยวนำสองทาง
12 เครื่องกลเหนี่ยวนำทางเดียว
13 มอเตอร์นาโน
14 ประสิทธิภาพ
15 วัสดุ
16 มาตรฐานมอเตอร์
17 อ้างอิง
18 แหล่งค้นคว้าภายนอก
19 ดูเพิ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น