จำนวนผู้ชม

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม
3. การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
- ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก
- ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
- ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
การพัฒนาระบบประกอบด้วย
1) กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ
- การปรับปรุงคุณภาพ
- การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน
- การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี
- การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว
2) บุคลากร (People)
3) วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ
4) เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศและงบประมาณที่กำหนด
5) งบประมาณ (Budget)
6) ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)
7) การบริหารโครงการ (Project Management)

ทีมงานพัฒนาระบบ
การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล
1) คณะกรรมการ (Steering Committee)
2) ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)
3) ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)
4) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ
- ทักษะด้านเทคนิค
- ทักษะด้านการวิเคราะห์
- ทักษะดานการบริหารจัดการ
- ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร
5) ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค
- ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)
- โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
6) ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager)

หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
1) คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
2) เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งมีแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมีขั้นตอนดังนี้
- ศึกษาทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น
- รวบรวมและกำหนดความต้องการ
- หาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุด
- ออกแบบและทำการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก
- สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่นำมาใช้ และปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
3) กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
4) กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
5) ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
6) เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา
7) แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
8) ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต

ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
- การกำหนดและเลือกโครงการ (System Identification and Selection)
- การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning)
- การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
- การออกแบบระบบ (System Design)
- การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)
- การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)

การพัฒนาระบบมีรูปแบบต่างๆ
1. การพัฒนาระบบแบบน้ำตก (Waterfall Model) แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อได้ทำขั้นตอนก่อนหน้านี้เสร็จเรียบร้อยและจะไม่ย้อนกลับไปทำขั้นตอนก่อนหน้านี้อีก
2. การพัฒนาระบบแบบน้ำตกที่ย้อนกลับขั้นตอนได้ (Adapted Waterfall ) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่หากดำเนินการในขั้นตอนใดอยู่สามารถย้อนกลับไปขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือเพื่อต้องการความชัดเจน
3. การพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีการทำซ้ำบางขั้นตอนจนกว่าขั้นตอนต่างๆ ของระบบที่สร้างจะได้รับการยอมรับ
4. การพัฒนาระบบในรูปแบบขดลวด (Evolutionary Model SDLC) เป็นการพัฒนาระบบแบบวนรอบเพื่อให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็วโดยการพัฒนาระบบจะเริ่มจากแกนกลาง ในรอบแรกของการพัฒนาจะได้ ระบบรุ่น(Version) แรกออกมาและจะปรับปรุงให้ดีขึ้นในรุ่นที่สอง และดำเนินการแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้รุ่นที่สมบูรณ์

วงจรการพัฒนาระบบ
Phase 1 การกำหนดและเลือกสรรโครงการ (System Identification and Selection) ผลของการพิจารณาของคณะกรรมการอาจเป็นไปได้ดังนี้
- อนุมัติโครงการ
- ชะลอโครงการ
- ทบทวนโครงการ
- ไม่อนุมัติโครงการ

Phase 2 การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning) จะเริ่มจัดทำโครงการ โดยจัดตั้งทีมงานพร้อมทั้งกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ
- การศึกษาความเป็นไปได้
- การพิจารณาผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากโครงการ
- การพิจารณาค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของโครงการ
- การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการพัฒนาระบบสารสนเทศ

Phase 3 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล
- Fact-Finding Technique
- Joint Application Design (JAD)
- การสร้างต้นแบบ

Phase 4 การออกแบบระบบ (System Design) การออกแบบแบ่งเป็น 2 ส่วน
- การออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design)
- การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design)

Phase 5 การดำเนินการระบบ (System Implementation) ซึ่งจะครอบคลุมกิจกรรมดังต่อไปนี้
- จัดซื้อหรือจัดหาฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Solfware)
- เขียนโปรแกรมโดยโปรแกรมเมอร์ (Coding)
- ทำการทดสอบ (Testing)
- การจัดทำเอกสารระบบ (Documentation)
- การถ่ายโอนระบบงาน (System Conversion)
- ฝึกอบรมผู้ใช้ระบบ (Training)
Phase 6 การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)
เป็นขั้นตอนการดูและระบบเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการทำงานโดยบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ในส่วนนี้
การบำรุงรักษาระบบแบ่งได้ 4 ประเภท
- Corrective Maintenance เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบ
- Adaptive Maintenance เพื่อให้ระบบสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
- Perfective Maintenance เพื่อบำรุงรักษาระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Preventive Maintenance เพื่อบำรุงรักษาระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิด

วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1) การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม (Traditional SDLC Methodology) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน วิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดและนิยมเรียกย่อๆ ว่า SDLC
2) การสร้างต้นแบบ (Prototyping) เป็นการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานซึ่งนอกจากผู้ใช้จะได้แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศที่ต้องการแล้วยังช่วยให้มองเห็นภาพของระบบที่จะพัฒนาได้ชัดเจนขึ้น
การพัฒนาระบบโดยใช้ตนแบบแบงออกเป็น 4 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 : ระบุความต้องการเบื้องต้นของผู้ใช้
ขั้นที่ 2 : พัฒนาต้นแบบเริ่มแรก
ขั้นที่ 3 : นำต้นแบบมาใช้
ขั้นที่ 4 : ปรับปรุงแก้ไขต้นแบบ
3) การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End-user Development)
4) การใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsourcing) เนื่องจากองค์การไม่มีบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญ การจ้างหน่วยงานหรือบริษัทภายนอกที่มีความชำนาญด้านนี้มาทำการพัฒนาระบบให้ ซึ่งการทำสัญญาจ้างให้หน่วยงานภายนอกมาทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของฝ่ายคอมพิวเตอร์นี้เรียกว่า IT Outsourcing ในที่นี้จะเรียกสั้นๆ ว่า Outsourcing
5) การใช้ซอฟแวร์สำเร็จรูปประยุกต์ (Application Software Package) เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา เช่น ระบบงานเงินเดือน ระบบบัญชีลูกหนี้ หรือระบบควบคุมสินค้าคลคลัง หากซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสามารถสนองต่อความต้องการระบบงานขององค์การได้ องค์การก้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นเอง เนื่องจากโปรแกรมสำเร็จรูปได้รับการออกแบบและผ่านการทดสอบแล้ว จึงช่วยลดค่าใช่จ่ายและเวลาในการพัฒนาระบบใหม่และยังช่วยให้การทดสอบ การติดตั้ง และการบำรุงรักษาระบบเป็นไปได้ง่ายขึ้น

การพัฒนาระบบแบบออบเจ็กต์ (Object-Oriented Methodology)
ประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุ (Class of Objects) ซึ่งทำงานร่วมกัน มีการจัดกลุ่มของข้อมูลและพฤติกรรมหรือฟังก์ชันที่กระทำกับข้อมูลนั้นเป็นกลุ่มๆ ในรูปของออบเจ็กต์ เนื่องจากออบเจ็กต์มีคุณสมบัติในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reusability) การพัฒนาโปรแกรมแบบออบเจ็กต์จึงใช้เวลาในการพัฒนาน้อยกว่าวิธีอื่น

การพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นขั้นตอนในการพัฒนาระบบที่ใช้ระยะเวลาในการพัฒนารวดเร็วกว่าและคุณภาพดีกว่าวิธีพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม โดยมีการนำเครื่องมือซอฟต์แวร์มาช่วยในการพัฒนาระบบซึ่งมีขั้นตอนในการพัฒนาระบบอยู่ 4 ขั้นตอนคือ
1) การกำหนดความต้องการ
2) การออกแบบโดยผู้ใช้
3) การสร้างระบบ
4) การเปลี่ยนระบบหรือใช้ระบบ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ
1) การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
2) การกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
3) ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของทีมพัฒนาระบบ
4) การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
5) การบริหารโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบเลขฐานสิบ ฐานสอง ฐานแปด และฐานสิบหก

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ ที่ต้องอาศัยตัวเลขและหลักการทางคณิตศาสตร์ ในการสร้างข้อมูลและการประมวลผล ซึ่งระบบเลขฐานที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ มี 4 ระบบ ได้แก่ ระบบเลขฐานสิบ ระบบเลขฐานสอง ระบบฐานแปด และระบบฐานสิบหก
1. ระบบเลขฐานสิบ (Decimal Numbering System)
ระบบเลขฐานสิบเป็นระบบที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การนับจำนวนวัตถุ สิ่งของ หรือการนับจำนวนคน ระบบเลขฐานสิบใช้สัญลักษณ์ 10 ตัว ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 โดยตัวเลข 0 แทนค่าที่น้อยที่สุด เลข 9 แทนค่ามากที่สุด และจะเพิ่มค่าทีละหนึ่ง 2 3 … จนครบ 10 ตัว
2. ระบบเลขฐานสอง (Binary Numbering SyStem)
ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร เสียง หรือรูปภาพนั้น เมื่อนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำการเข้ารหัสหรือแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปเลขฐานสอง และประมวลผลเสร็จแล้วจึงทำการแปลงข้อมูลกลับมาในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ ระบบเลขฐานสอง ประกอบด้วยสัญลักษณ์เพียง 2 ตัว คือ 0 และ 1
3. ระบบเลขฐานแปด (Octal Numbering System)
ระบบฐานสิบไม่มีสัญลักษณ์สำหรับเลข 10 ระบบเลขฐานสองไม่มีสัญลักษณ์เลข 2 ดังนั้นในระบบเลขฐานแปดจึงไม่มีสัญลักษณ์เลข 8 สรุปได้ว่า สัญลักษณ์ที่ใช้ในระบบเลขฐานแปด มีจำนวนทั้งสิ้น 8 ตัว ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6 และ7
4. ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal Numbering System)
ในระบบเลขฐานสิบหกมีสัญลักษณ์ที่ใช้ในระบบเลขฐานสิบหก จำนวน 16 ตัว ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, A, B, C, E, F

การพัฒนาโปรแกรม


คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง แต่สามารถทำงาน ได้ตามชุดคำสั่ง ในโปรแกรมที่ป้อนเข้าสู่เครื่อง ซึ่งจะทำงานตามคำสั่งที่ละคำสั่ง โดยคำสั่งที่ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ จะต้องอยู่ในรูปแบบของภาษาเครื่อง ถ้าเขียนโปรแกรมด้วยภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาเครื่องก็ต้องมีตัวแปลมาช่วยแปลคำสั่งเหล่านั้นให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งตัวที่มาช่วยแปลนี้เรียกว่า ตัวแปลภาษา เช่น Compiler หรือ Interpreter
ในการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแกรมนั้น โปรแกรมเมอร์ หรือ ผู้เขียนโปรแกรม ต้องมี การเตรียมงาน เกี่ยวกับ การเขียนโปรแกรมอย่างเป็นขั้นตอน เรียกขั้นตอนเหล่านี้ว่า วงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Devenlopment Life Cycle:PDLC) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนตามลำดับดังนี้
ขั้นวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis and Feasibility Study)
ขั้นวางแผนแก้ไขปัญหา (Algorythm Design)
ขั้นดำเนินการเขียนโปรแกรม (Program Coding)
ขั้นทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing and Debugging)
ขั้นการเขียนเอกสารประกอบ (Documentation)
ขั้นบำรุงรักษาโปรแกรม (Program maintenance)
ภาพที่ 2.1 วงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Devenlopment Life Cycle:PDLC)
วิธีการทางคอมพิวเตอร์ เป็นขั้นตอนในการจัดทำโปรแกรม ที่ช่วยให้การเขียนโปรแกรม ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ตามความมุ่งหมาย เพราะแต่ละขั้นตอนจะช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ การเรียบเรียงแนวคิดมีความชัดเจน ไม่สับสน และเกิดความง่ายต่อการเขียนและพัฒนาโปรแกรม แม้ว่าปัจจุบันจะมีวิธีการสมัยใหม่เกิดขึ้น เช่นแนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ แต่วิธีการทางคอมพิวเตอร์ ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และน่ากระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เริ่มต้นใหม่กับงานเขียนโปรแกรม เพราะช่วยให้แนวคิดของการพัฒนาโปรแกรม เป็นระเบียบไม่สับสน

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ประวัติการพัฒนาภาษาปาสคาล
ประมาณปี พ.ศ. 2514 ดร.นิคลอล เวียร์ต (Professor Doctor Nicklaus Wirth) ชาวเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาภาษาหนึ่ง ซึ่งจุดมุ่งหมายหลักในการพัฒนาภาษานี้ คือ ให้เป็นภาษาสำหรับฝึกเขียนโปแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างมีระบบและมีระเบียบ และได้กำหนดให้ภาษาใหม่นี้มีชื่อว่า ภาษาปาสคาล (Pascal Language) เพื่อเป็นเกียรติแก่ Blaise Pascal นักคณิตศาสตร์และปรัชญาแมธีชาวฝรั่งเศสผู้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกของโลก
ภาษาปาสคาลมีต้นแบบมาจากภาษา ALGOL (Algorithmic Language) และตัวภาษาปาสคาลเองก็ได้ถูกพัฒนาต่อไปเป็นภาษาที่รู้จักกันในชื่อต่าง ๆ เช่น ภาษา MODULA2 ภาษา Ada ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับความนิยมในอนาคต แต่เป็นภาษาใหม่ที่มีโครงสร้างซับซ้อน
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลต้องเขียนโปรแกรมแบบมีโครงสร้างและมีระเบียบ แบบแผน เป็นภาษาที่ไม่มีหมายเลขบรรทัดแต่ทำงานตามลำดับโครงสร้างของโปรแกรม ดังนั้นภาษาปาสคาลเหมาะกับการศึกษาภาษาที่ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดย ตรงและวิธีการเขียนโปรแกรมที่ถูกต้องเพื่อนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาชั้น สูงอื่น ๆ และ ภาษาเครื่อง รวมทั้งซอฟต์แวร์กึ่งสำเร็จรูป ต่อไปได้
สัญลักษณ์เบื้องต้น (Basic Symbol)
สัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษาปาสคาลแบ่งออกได้เป็น 3 พวก ได้แก่
1. letter ได้แก่ A-Z , a-z และ มีขีดล่าง (_ อ่านว่า Underscore)
2. digit ได้แก่ 0-9 3 . Special symbol สัญลักษณ์พิเศษได้แก่ + - * / = ^ () [] {}. , : ; ' # $
หมายเหตุ ไม่มีความแตกต่างระหว่างอักษรพิมพ์ใหญ่และอักษรพิมพ์เล็ก
คำอธิบาย
โดยหลักการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลแล้วจะต้องเขียนโปรแกรมให้ถูกต้องตามรูปแบบของคำสั่งภาษาซึ่งจะมีความหมายในตัวเองแล้ว แต่บางครั้งถ้าต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อสร้างความเข้าใจสามารถเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมไว้ได้ในเครื่องหมาย { } ซึ่งสิ่งที่อยู่ในเครื่องหมาย { } ภาษาปาสคาลจะไม่ทำการคอมไพ
การเขียนคำอธิบายอาจจะเขียนอยู่ในโปรแกรม คือ ตั่งแต่คำว่า PROGRAM จนถึงคำว่า END. หรือจะอยู่นอกโปรแกรมก็ได้ เช่น
ตัวอย่าง 1.3.1 การเขียนคำอธิบายในโปรแกรม
Program Show Name;
Uses Crt;
Ch : Char;
Begin
{โปรแกรมแนะนำตนเอง}
Clrscr;
Writeln(‘อรทัย ชัยรัตนศักดิ์’);
Writeln(‘โปรแกรมวิทยาการคอมพิวเตอร์ ’);
Writeln(‘สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม’);
Ch := read key;
End.
ตัวอย่าง 1.3.2 การเขียนคำอธิบายนอกโปรแกรม
{โปรแกรมแนะนำตนเอง}
Program Show Name;
Uses Crt;
Ch : Char;
Begin
Closure;
Written(‘อรทัย ชัยรัตนศักดิ์’);
Written(‘โปรแกรมวิทยาการคอมพิวเตอร์ ’);
Written(‘สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม’);
Ch := read key;
End.
ชื่อ (Identifier)
ชื่อ ได้แก่ ชื่อที่ใช้ในโปรแกรม เช่น ใช้เป็นชื่อโปรแกรม ชื่อตัวแปร ชื่อตัวคงที่ ชื่อ procedure ชื่อ Function ชื่อประกอบขึ้นจาก letter หรือ digit แต่จะต้องไม่ขึ้นต้นด้วย digit และจะต้องไม่มีช่องว่างในส่วนประกอบเหล่านี้ ชื่อต้องมีความยาวอย่างน้อย 1 อักขระ แต่ไม่เกิน 127 อักขระ หรือไม่เกิน 1 ไลน์ (Line)ตัวอย่าง
1. ต่อไปนี้เป็น identifier
power ,Supper ,x_bar ,X2
2. ต่อไปนี้ไม่เป็น identifier
4time ไม่เป็นเพราะขึ้นต้นด้วยตัวเลข
No. ไม่เป็นเพราะมีเครื่องหมาย .
name#5 ไม่เป็นเพราะมีเครื่องหมาย #
xy 8 ไม่เป็นเพราะมีช่องว่าง
คำในภาษาปาสคาล (Word)
Word ได้แก่คำที่ใช้ในปาสคาลแบ่งออกได้เป็น
1. คำสงวน (Reserved Word) ได้แก่คำที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบต่าง ๆ ในProgram ตามข้อกำหนดของภาษาปาสคาล ซึ่งคำสงวนนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ และไม่สามารถนำมาตั้งเป็นชื่อได้
2. คำมาตรฐาน (Standard Word) ได้แก่คำที่เป็น Procedure หรือ Functionมาตรฐาน เป็นคำที่เปรียบเสมือนคำสั่งในโปรแกรม แต่ตัวมันเองเป็นโปรแกรม สามารถนำคำมาตรฐานมาเป็นชื่อได้แต่ไม่ควรทำเพราะจะทำให้เสียความหมายเดิมไป จึงต้องระวังอย่ากำหนดชื่อให้ซ้ำกับคำมาตรฐาน คำมาตรฐานได้แก่คำที่กำหนดใหม่ (User defined Word) โดยผู้ใช้ ซึ่งอาจจะเขียนเป็น Procedure หรือ Function และต้องไม่เป็นคำที่ปรากฏในข้อ 1, 2
ค่าคงที่ (Constants)
ค่าคงที่ (Constants) คือ ค่าที่กำหนดขึ้นมาใช้ในโปรแกรม โดยค่าคงที่นี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่านั้นอีกตลอดการรันโปรแกรมนั้น ๆ เช่น
‘G’ เป็นค่าคงที่แบบอักขระ
‘Computer’ เป็นค่าคงที่แบบสตริง
2546 เป็นค่าคงที่แบบตัวเลข
หมายเหตุ
1. ค่าคงที่แบบอักขระและแบบสตริงต้องอยู่ในเครื่องหมายคำพูดเดี่ยวเท่านั้น (‘ ‘) และภายในเครื่องหมายคำพูดหากมีการเว้นช่องว่างจะถือว่าเป็นอักขระตัวหนึ่ง คือเป็นช่องว่างเมื่อออกจอภาพ
2. 2456 เป็นค่าคงที่แบบตัวเลข อ่านว่า สองพันสี่ร้อยห้าสิบหก สามารถนำไปทำการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ แต่ถ้าเขียนไว้ในเครื่องหมายคำพูด ’2456’ จะเป็นค่าคงที่แบบสตริง อ่านว่า สองสี่ห้าหก ไม่สามารถนำมาทำการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้
แบบของข้อมูล (Data Type)
แบบของข้อมูล (Data Type) คือ การกำหนดคุณสมบัติให้กับตัวแปรข้อมูลชนิดนั้น ๆ ซึ่งแต่ละภาษาจะมีแบบของข้อมูลที่กำหนดมาให้เป็นมาตรฐานแล้ว เช่น Integer Real Boolean Char หรือผู้ใช้สามารถกำหนดแบบของข้อมูลชนิดใหม่ขึ้นมาใช้ได้ด้วยตัวเอง เช่น String Array
ตัวแปร (Variables)
ตัวแปร (Variables) คือ การตั้งชื่อหน่วยความจำที่ใช้ในการอ้างถึงหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลในภาษาเครื่องโดยอ้างถึงแอดเดรส สามารถอ่านค่าและเปลี่ยนแปลงค่าได้ตลอดเวลา
สำหรับขนาดของหน่วยความจำของแต่ละข้อมูลหรือแต่ละตัวแปรนั้น จะมีขนาดไม่เท่ากัน ขึ้นกับแบบของข้อมูลของตัวแปรนั้น ๆ และตัวแปรแต่ละตัวถ้ากำหนดมาสำหรับแบบข้อมูลแบบไหนจะเก็บข้อมูลแบบนั้นได้ เท่านั้นไม่สามารถเก็บข้อมูลแบบอื่น ๆ ได้ การกำหนดตัวแปร เช่น
Var I : Integer;
R : Real;
Ch : Char;
St : String(10);
เป็นการกำหนดตัวแปร I เก็บข้อมูลแบบ Integer คือจำนวนเต็ม R เป็นตัวแปรเก็บข้อมูลแบบจำนวนจริง Ch เป็นตัวแปรเก็บข้อมูลแบบอักขระ และ St เป็นตัวแปรเก็บข้อมูลแบบสตริงยาวไม่เกิน 10 อักขระ
การให้ค่าคงที่ตัวแปร (Aassignment Variables )
เมื่อกำหนดตัวแปรแล้ว การดำเนินการทำสำคัญกับตัวแปร คือ การให้ค่ากับตัวแปร ซึ่งทำได้ 2 วิธีการ คือ
1. การอ่านจากอุปกรณ์ภายนอก เช่น การรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด การอ่านค่าจากไฟล์ข้อมูล
2. การให้ค่าแก่ตัวแปรในโปรแกรม การให้ค่าแก่ตัวแปรในโปรแกรม ด้วยเครื่องหมาย := หมายความว่า เอาค่าที่อยู่ทางด้านซ้ายมือของเครื่องหมาย มาเก็บไว้ที่ตัวแปรที่อยู่ทางด้านขวามือของเครื่องหมาย สิ่งที่อยู่ทางด้านซ้ายมือของเครื่องหมาย ต้องเป็นตัวแปรครั้งละ 1 ตัวเท่านั้น ส่วนสิ่งที่อยู่ทางด้านขวามือของเครื่องหมาย สามารถเป็นได้ คือ
1. ค่าคงที่ เช่น Num: = 3; เป็นการให้ค่า 3 แก่ตัวแปร Num
Name: = ‘อรทัย’; เป็นการให้ค่า ‘อรทัย’ แก่ตัวแปร Name
2. ตัวแปร เช่น Sum: = Num; เป็นการให้ค่า Num แก่ตัวแปร Sum ดังนั้น Sum ก็จะมีค่า 3 ตามค่าของ Num
3. นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ เช่น Sum: = Num + 5; จะนำค่า Num มาเพิ่มอีก 5 แล้วให้ค่าแก่ตัวแปร Sum ดังนั้น Sum จะมีค่าเป็น 8

Num := Num + 1; จะนำค่า Num มาเพิ่มอีก 1 แล้วเก็บค่าไว้ที่ Num เหมือนเดิม ดังนั้น Num จะมีค่า เป็น 4
4. ฟังก์ชั่น เช่น Ch := Chr (125); เป็นการนำค่า 125 มาทำการแปลงด้วยคำสั่ง Chr ซึ่งเป็นการอ่านค่าตามรหัส ASCII ให้แก่ตัวแปร Ch
คณิตศาสตร์บูลีน (Boolean algebra)
คณิตศาสตร์บูลีน (Boolean Algebra) เป็นการดำเนินกรรมวิธีทางตรรกตัวดำเนินการ (Operators) ที่ใช้มากและมีในภาษาปาสคาลได้ได้ AND, OR และ XOR เรียกว่าตัวดำเนินการบูลีน (Boolean Operators) AND ให้ความเป็นจริงเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงทั้งหมด นอกนั้นอีก 3 กรณีเป็นเท็จ OR ให้ความเป็นจริงเมื่อเงื่อนไขอันใดอันหนึ่งเป็นจริง ให้ความเป็นเท็จเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จทั้งหมด XOR ให้ความเป็นจริงเมื่อเงื่อนไขอันใดอันหนึ่งเป็นจริงเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ถ้าเหมือนทุกเงื่อนไขจะเป็นเท็จ
operator operation operanal type result type
AND arithmetic and Integer Integer
AND logical and Boolean Boolean
OR arithmetic or Integer Integer
OR logical or Boolean Boolean
XOR arithmetic xor Integer Integer
XOR logical xor Boolean Boolean
ตัวอย่าง ตารางตรรกศาสตร์บูลีน
X Y AND OR XOR
true true true true false
true false false true true
false true false true true
false false false false false
ตัวดำเนินการ (Operators)
ตัวดำเนินการ (Operators) คือ เครื่องหมายที่ใช้ในการดำเนินกรรมวิธี เช่น เครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น กรรมวิธีในการดำเนินการในภาษาปาสคาล กระทำเช่นเดียวกับพีชคณิต คือ จะให้ข้อมูลทางซ้ายของตัวดำเนินการเป็นตัวตั้ง และให้ข้อมูลทางขวาของตัวดำเนินการเป็นตัวกระทำ
operator operation operanal type result type
+ addition Real, Real Real
+ addition Integer, Integer Integer
+ addition Real, Integer Real
- subtraction Real, Real Real
- subtraction Integer, Integer Integer
- subtraction Integer, Real Real
* multiplication Real, Real Real * multiplication Integer, Integer Integer* multiplication Real, Integer Real / division Real, Real Real / division Integer, Integer Real / division Real, Integer Real DIV division Integer Integer MOD modules Integer Integer
หมายเหตุ DIV เป็นการหารแบบปัดเศษทิ้ง MOD เป็นเศษของการหาร
ตัวอย่าง 123/4 = 30.75 123 DIV 4 = 30

จริยธรรมและความปลอดภัย

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบ สารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณา รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม
คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “หลักของศีลธรรมใ นแต่ละวิชาชีพเฉพาะ”“มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูก และหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิด” หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม
หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ
การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปีสิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล
การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)
การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์การควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิดพลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656)
การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)
การควบคุมอินพุท
การควบคุมการประมวลผล
การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)
การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)
การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)
การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)
การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)
การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ
การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
แผนการป้องกันการเสียหาย
ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)
การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)
ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
การแปลงรหัส (Encryption)
กำแพงไฟ (Fire Walls)
การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)

การใช้โปรแกรม Microsoft Excle

โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel
โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมที่เหมาะกับงานทางด้าน การคำนวณ การตีตาราง การหาค่าสูตรต่าง ๆ ตลอดจนสามารถนำข้อมูล ไปสร้างเป็นกราฟ เพื่อแสดงแผนภูมิต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขใด ๆ โปรแกรมก็จะทำการคำนวณ สูตรที่เชื่อมโยงกับตัวเลขนั้น ๆ ให้โดยอัตโนมัติ
การเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Excel
1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start
2. เลื่อนขึ้นไปที่หัวข้อ Program
3. เลื่อนมาด้านขวา คลิ๊กที่โปรแกรม Microsoft Excel
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าจอโปรแกรม Microsoft Excel
1. เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้ว จะเห็นว่าหน้าจอจะตีตารางเป็นช่อง ๆ เราเรียกว่า กระดาษทำการ Work Sheet
2. ด้านบนที่เห็นเป็นตัวอักษร A , B , C , D , E , …….. เป็นการแบ่งแนวตั้งเราเรียกว่า คอลัมน์ Column
3. ด้านซ้ายที่เห็นเป็นตัวเลข 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , ………… เป็นการแบ่งแนวนอนเราเรียกว่า แถว Row
4. จุดตัดระหว่าง คอลัมน์ กับ แถว เราเรียกว่า เซลล์ Cell
5. ที่ Cell A1 จะมีกรอบสีดำเข้ม สามารถเลื่อนไปยัง Cell ต่าง ๆ ได้ เราเรียกว่า ตัวชี้ตำแหน่งเซลล์ ปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ Cell Pointer
การเลื่อน Cell Pointer
1. ใช้เม้าส์คลิ๊กที่ เซลล์ ที่เราต้องการเลื่อน
2. ใช้ลูกศร สี่ทิศ ที่แป้นพิมพ์ในการเลื่อน
3. ใช้ปุ่ม Ctrl + Home เพื่อเลื่อนกลับมาที่ เซลล์ A1
4. ใช้ปุ่ม Ctrl + ลูกศร ขวา เพื่อเลื่อนมา คอลัมน์ ขวาสุด
5. ใช้ปุ่ม Ctrl + ลูกศร ลง เพื่อเลื่อนลงมาบรรทัดสุดท้าย
6. ใช้ปุ่ม Page Up หรือ Page Down เพื่อ เลื่อน ขึ้น หรือ ลง ทีละ 1 หน้าจอภาพ
การพิมพ์ข้อมูลลงใน Cell
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะป้อนข้อมูล
2. พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการ
3. กดปุ่ม Enter หรือ ใช้ลูกศร ที่แป้นพิมพ์เพื่อ เลื่อนไปทางขวา หรือ ขึ้น ลง ได้
การลบข้อมูลในเซลล์
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะลบ
2. กดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์
การแก้ไขข้อมูล
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะแก้ไขข้อมูล
2. กดปุ่ม F2 ที่แป้นพิมพ์
3. ทำการแก้ไขข้อมูล (สามารถใช้ลูกศร ซ้าย – ขวา ที่แป้นพิมพ์ในการเลื่อนเคอร์เซอร์ได้)
4. เสร็จการแก้ไขข้อมูล โดยการกดปุ่ม Enter
การย้ายข้อมูล (Move)
1. เลื่อนเซลล์ไปยังเซลล์ที่จะย้ายข้อมูล
2. นำเม้าส์มาแตะที่ขอบของ Cell Pointer เม้าส์จะเปลี่ยนจากรูป บวก ที่เป็นกาชาด มาเป็นลูกศร
3. กดปุ่มซ้ายของเม้าส์ ค้างไว้ เลื่อน เซลล์ได้เลย
การคัดลอกข้อมูล (Copy)
1. เลื่อนเซลล์ไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกข้อมูล
2. นำเม้าส์มาแตะที่จุดสี่เหลี่ยมสีดำตรงมุมขวาล่างของ Cell Pointer เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายบวก
สีดำ
3. กดปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างไว้ แล้วเลื่อนไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกไปได้เลย
การปรับความกว้างของคอลัมน์
1. เลื่อนเม้าส์ไปชี้ที่เส้นแบ่งระหว่างคอลัมน์ (เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศรสีดำ ซ้าย – ขวา)
2. กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์เพื่อปรับความกว้าง หรือจะดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อให้เครื่อง
ปรับความกว้างอัตโนมัติ
การเขียนสูตรเพื่อทำการคำนวณในเอ็กเซล
1. คลิ๊กที่เซลล์ที่ต้องการจะคำนวณ
2. กดเครื่องหมาย เท่ากับ = เพื่อให้เอ็กเซลทราบว่า ช่องนี้ต้องการทำการคำนวณ
3. พิมพ์สูตรที่ต้องการคำนวณลงไป เช่น พิมพ์ว่า =D3*3% (D3 คือ เซลล์ที่เก็บตัวเลขที่เราจะดึงมาทำการคำนวณ)
4. เมื่อพิมพ์สูตรเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม Enter เครื่องจะทำการคำนวณคำตอบให้
การคัดลอกสูตร (Copy สูตร)
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกสูตร
2. เลื่อนเม้าส์มาชี้ที่จุดสี่เหลี่ยมสีดำ ด้านล่างขวาของกรอบสีดำ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย บวก สีดำ
3. กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วเลื่อนเม้าส์ลงมาเรื่อยจนครบทุกช่องที่จะก๊อปปี้
4. เมื่อปล่อยเม้าส์ เครื่องก็จะทำการคำนวณทุกช่องให้เอง
ถ้าทำการก๊อปปี้แล้วตัวเลขเกิดรางรถไฟขึ้นมา ############## ความหมายคือความกว้างไม่พอ
1. เลื่อนเม้าส์ไปที่เส้นแบ่งระหว่างคอลัมน์ ที่เราจะปรับด้านบน (เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูป ลูกศรสีดำ
ซ้าย – ขวา)
2. ดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อปรับความกว้างอัตโนมัติ
การคำนวณหายอดรวม
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ที่ต้องการจะหายอดรวม
2. ด้านบน คลิ๊กที่ปุ่ม ซิกม่า (เป็นรูปตัว S )
3. จากนั้นที่เซลล์ จะมีคำสั่งให้ว่า =SUM(ตามด้วยกลุ่มเซลล์)
4. กดปุ่ม Enter เครื่องจะคำนวณหาคำตอบให้
การผสานเซลล์ให้เป็นช่องเดียวกัน จะใช้ในกรณีที่ต้องการให้ข้อความจัดกลางระหว่างคอลัมน์ หลาย ๆ คอลัมน์ เช่น ต้องการให้ชื่อบริษัท ในบรรทัดแรกอยู่ตรงกลางระหว่าง คอลัมน์ A ถึงคอลัมน์ F
วิธีการคือ
1. นำเม้าส์ไปวางที่เซลล์ A1 จากนั้นกดเม้าส์ค้างไว้ ลากมาทางขวาจนถึงคอลัมน์ F1
2. ด้านบน คลิ๊กที่ปุ่ม a เล็ก (ถ้าเลื่อนเม้าส์ไปวางไว้ จะมีคำว่า ผสานและจัดกึ่งกลาง)
3. เครื่องจะทำการผสานเซลล์ แล้วนำข้อความมาจัดกลางให้
การให้เครื่องใส่หมายเลขลำดับที่ต่อเนื่องกันไป เช่น ต้องการให้ลำดับที่เป็น 1 , 2 , 3 , 4 , ไปเรื่อย ๆ
1. คลิ๊กที่เซลล์ที่ต้องการจะเริ่มเลข 1
2. ใส่เครื่องหมายฟันเดียว ‘ ตรงแป้นพิมพ์อักษร ง ไม่ต้องยกแคร่ พิมพ์เลข 1 แล้วกด Enter
3. เลข 1 จะชิดด้านซ้าย เลื่อนเซลล์กลับมาที่เลข 1 ทำการก๊อปปี้ (เลื่อนเม้าส์ ชี้ ตรงจุดสี่เหลี่ยมสีดำตรงมุมล่างขวา เม้าส์จะเปลี่ยนรูปเป็นเครื่องหมาย บวก สีดำ กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ลงมาตามต้องการ พอปล่อยเม้าส์ เครื่องจะใส่ตัวเลขเรียงลำดับให้เอง)
การตีตาราง
1. ลากเม้าส์คลุมเซลล์ที่เราต้องการจะตีตาราง
2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่สอง (แถบจัดรูปแบบ) นับจากด้านหลังปุ่มที่ 3 จะเป็นปุ่มเส้นขอบ ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมเล็ก ๆ หลังปุ่มเส้นขอบ
3. เครื่องจะมีเส้นขอบให้เลือก ให้เลือกปุ่มที่อยู่ในบรรทัดที่ 3 ปุ่มที่ 2 เครื่องจะมีคำว่า เส้นขอบทั้งหมด
4. เครื่องจะตีตารางให้ คลิ๊กเม้าส์ที่เซลล์ไหนก็ได้ เพื่อยกเลิกแถบที่เราลากไว้
การ Save ข้อมูล จะแบ่งเป็น 2 กรณี
ถ้าเป็นการ Save ครั้งแรก หมายถึง เพิ่งพิมพ์งานใหม่
1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม
2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึกเป็น (Save As)
3. จะขึ้นหน้าต่าง Save As จากนั้นในช่องชื่อแฟ้ม เครื่องจะนำเอาบรรทัดแรกที่เราพิมพ์ มาเป็นชื่อแฟ้ม แต่ถ้าเราไม่เอาชื่อแฟ้มนั้นก็ ลบทิ้ง พิมพ์ชื่อแฟ้มที่ต้องการลงไปแล้ว คลิ๊กปุ่ม บันทึก
ถ้าเป็นการ Save งานเดิม หมายถึง เรียกขึ้นมาเพื่อแก้ไข แล้วจะ Save ที่เราแก้ไข
1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม
2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึก (Save)
3. ตรงนี้เครื่องจะไม่ขึ้นหน้าต่าง ใด ๆ เลย เครื่องจะทำการ Save ลงที่แฟ้มเดิมที่เราเรียกใช้อยู่ เพราะเครื่องทราบว่าจะ Save ที่แฟ้มใดอยู่แล้ว
การยกเลิกเส้นตารางบางส่วนที่เราตีไปแล้ว
1. นำเม้าส์มา ลาก ส่วนที่เราจะยกเลิกเส้นตาราง
2. นำเม้าส์มาวางอยู่ในแถบที่เราลาก
3. คลิ๊กปุ่มขวาของเม้าส์เพื่อเข้าวิธีลัด
4. เครื่องจะปรากฏคำสั่งต่าง ๆ ให้เราลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง จัดรูปแบบเซลล์
5. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบเซลล์ ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ เส้นขอบ
6. ในช่อง เส้น , ลักษณะ ด้านขวา ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่มี
7. ด้านซ้ายในช่อง เส้นขอบ ให้คลิ๊กเส้นที่เราต้องการจะเอาออก
8. ด้านล่างคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง
การเปลี่ยนตัวอักษร ขนาด ลักษณะตัวอักษร สี
1. นำเม้าส์มาลากยังเซลล์ที่ต้องการจะเปลี่ยน
2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่ 2 (แถบจัดรูปแบบ)
3. ช่องที่ 1 ที่มีคำว่า Cordia New ช่องนี้คือแบบอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนแบบอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังคำว่า Cordia New จากนั้นเลือกตัวอักษรที่เราต้องการ โดยต้องเลือกตัวอักษรที่มีคำว่า New หรือ UPC อยู่หลังแบบอักษร เพราะแบบอักษรนี้จะใช้ได้กับภาษาไทย
4. ช่องที่ 2 ที่มีตัวเลขเป็น 14 ช่องนี้คือ ขนาดของตัวอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนก็ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมสีดำ หลังเลข 14 แล้วเลือกขนาดได้ตามใจชอบ
5. ช่องที่ 3 จะเป็นตัวอักษร B ถ้าเราคลิ๊กลงไปจะได้ตัวอักษร หนาขึ้น ถ้าไม่เอา ให้คลิ๊กซ้ำลงไป
6. ช่องที่ 4 จะเป็นตัวอักษร I จะเป็นการทำตัวเอียง
7. ช่องที่ 5 จะเป็นตัวอักษร U จะเป็นการทำตัวขีดเส้นใต้
8. ช่องสุดท้าย จะเป็นตัวอักษร A จะเป็นการเลือกสีตัวอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังตัว A จะมีสีต่าง ๆ ให้เลือก ถ้าเราไม่เอาสีนั้นแล้วให้คลิ๊กที่คำว่า อัตโนมัติ
9. ช่องที่อยู่หน้าปุ่ม A ที่เป็นรูปกระป๋องสี คือการใส่สีพื้น ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังกระป๋องสี จะมีสีพื้นต่าง ๆ ให้เลือก แต่ถ้าเราเลือกไปแล้วจะไม่เอาสีพื้น ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่เติม
10. เมื่อเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว ให้นำเม้าส์คลิ๊กที่เซลล์ไหนก็ได้เพื่อยกเลิกแถบ
การคำนวณหาค่าต่าง ๆ
1. คลิ๊กที่เซลล์ที่เราจะเก็บคำตอบ
2. ด้านบนคลิ๊กที่ปุ่ม วางฟังก์ชั่น (อยู่ข้าง ๆ ปุ่มซิกม่าที่เป็นรูป fx)
3. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง วางฟังก์ชั่น
4. เลือกคำสั่งที่เราจะทำการคำนวณ
5. ด้านล่างคลิ๊กปุ่ม ตกลง
6. เครื่องจะขึ้นหน้าต่างเพื่อให้เราใส่กลุ่มเซลล์ที่เราต้องการจะทำการคำนวณ เช่น ถ้าเราต้องการหาค่าตั้งแต่ เซลล์ D3 ถึง เซลล์ D7 เราต้องพิมพ์ว่า D3:D7 ใช้เครื่องหมายคอลอนคั่น : จากนั้นด้านล่างคลิ๊กปุ่ม ตกลง เครื่องก็จะทำการคำนวณในเซลล์นั้นให้
คำสั่งที่ใช้ในการหาค่าต่าง ๆ
ต้องการหาค่าเฉลี่ย ใช้คำสั่ง AVERAGE
ต้องการหาค่าสูงสุด ใช้คำสั่ง MAX
ต้องการหาค่าต่ำสุด ใช้คำสั่ง MIN
ต้องการให้เครื่องตรวจสอบข้อมูล จริง กับ เท็จ ใช้คำสั่ง IF
ต้องการให้เครื่องเปลี่ยนเลขเป็นตัวอักษร ใช้คำสั่ง BAHTTEXT
การสร้างกราฟ (Graph) คือ การนำตัวเลข มาสร้างเป็นกราฟเพื่อสรุปเป็นแผนภูมิ
1. นำเม้าส์มาลากข้อมูลในแกน X เช่น ลากตั้งแต่เซลล์ B3 ถึง B7
2. นำเม้าส์มาลากข้อมูลในแกน Y เช่น ลากตั้งแต่เซลล์ D3 ถึง D7 ต้องกดปุ่ม Ctrl + ลากเม้าส์
3. ด้านบนที่แถบเครื่องมือที่ 1 ให้คลิ๊กปุ่ม ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ (ที่เป็นรูปกราฟแท่ง)
4. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ ขั้น ที่ 1 จาก 4 – ชนิดแผนภูมิ
5. เครื่องจะถามทั้งหมด 4 ขั้นตอน ในขั้นตอนที่ 1 นี้เป็นการให้เราเลือกชนิดของกราฟที่เราต้องการสร้าง โดยด้านซ้าย คือ ชนิดของกราฟ มีทั้งกราฟ คอลัมน์ , กราฟแท่ง , กราฟเส้น , กราฟวงกลม เราก็คลิ๊ก ชนิดของกราฟที่เราต้องการลงไป ส่วนด้านขวาเป็นการเลือกแบบของกราฟ ว่าเราอยากได้กราฟแบบไหน เราก็คลิ๊กลงไป จากนั้น ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป เพื่อไปสู่ขั้นตอนที่ 2
6. ในขั้นตอนที่ 2 เครื่องจะสร้างกราฟชนิดที่เราต้องการไว้ ตามที่เราลากข้อมูลแกน X และ Y ซึ่งในหน้าต่างขั้นที่ 2 นี้เราไม่ต้องทำอะไรเลย ให้ลงไปคลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป ด้านล่างได้เลย
7. ในหน้าต่างขั้นตอนที่ 3 นี้ จะเป็นการใส่สิ่งที่เครื่องไม่ได้ทำมาให้คือ
a. ด้านบนยังไม่มีคำอธิบายกราฟ วิธีใส่ก็คือ ด้านซ้ายให้คลิ๊กที่ช่อง ชื่อแผนภูมิ จะมีเคอร์เซอร์ เราก็พิมพ์ลงไป เช่น กราฟแสดงเงินเดือน (เมื่อพิมพ์เสร็จนั่งสักพัก เครื่องจะไปใส่ในกราฟด้านขวาให้เราเอง โดยไม่ต้องกดปุ่ม Enter)
b. ในกราฟแต่ละแท่งเครื่องยังไม่ได้บอกค่าว่าแต่ละแท่งมีค่าเท่าไหร่ วิธีการให้เครื่องแสดงค่าออกมาคือ ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ ป้ายชื่อข้อมูล และด้านซ้าย คลิ๊กที่ช่อง แสดงค่า
เสร็จแล้วด้านล่าง ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป เพื่อไปยังขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนสุดท้าย
8. ในขั้นตอนที่ 4 ให้คลิ๊กที่คำว่า เป็นแผ่นงานใหม่ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม เสร็จสิ้น เครื่องก็จะสร้างกราฟเสร็จเรียบร้อยตามที่เราต้องการ
การตกแต่งกราฟ
1. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีของแท่งกราฟ
a. คลิ๊กที่แท่งแรกของกราฟ (จะขึ้นจุดสี่เหลี่ยมสีดำ แต่จะขึ้นทุกแท่ง) ให้คลิ๊กที่แท่งแรกของกราฟอีกครั้งนึง (จะขึ้นจุดสี่เหลี่ยมสีดำ ที่แท่งแรกเท่านั้น)
b. ให้นำเม้าส์วางที่แท่งแรกเหมือนเดิม แล้ว ดับเบิ้ลคลิ๊ก
c. จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบจุดข้อมูล
d. คลิ๊กที่ช่องตารางสีที่เราต้องการจะเปลี่ยน
e. ด้านล่างคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง
f. จากนั้น ก็เลื่อนเม้าส์ไปวางแท่งที่ 2 แล้วดับเบิ้ลคลิ๊กได้เลย เปลี่ยนสีจนครบ
2. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีที่ด้านหลังของแท่ง
a. เลื่อนเม้าส์ไปวางที่ด้านหลังของแท่ง (จะมีคำขึ้นมาว่า ผนัง)
b. ดับเบิ้ลคลิ๊กสองที
c. จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบจุดข้อมูล ตรงนี้ถ้าเราอยากได้ สีผสมของเครื่องให้คลิ๊กที่ปุ่ม เติมลักษณะพิเศษ จะขึ้นหน้าต่าง การเติมลักษณะพิเศษ ขึ้นมาอีกหน้าต่าง จากนั้น ให้คลิ๊กที่คำว่า สีที่กำหนดไว้ ด้านขวาจะมีช่อง สีที่กำหนดไว้ เพิ่มขึ้นมา ในแถบจะมีคำว่า ก่อนอาทิตย์ตก แล้วด้านล่างจะมีสีตัวอย่างว่า ก่อนอาทิตย์ตก มีแบบไหนบ้าง ถ้ายังไม่ถูกใจ ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมด้านหลัง จะมีชื่อสีสำเร็จรูปต่าง ๆ เราก็คลิ๊กไป แล้วด้านล่าง จะแสดงสีของชื่อนั้น ถ้าเราถูกใจ ด้านขวาให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง เครื่องจะกลับมาที่หน้าต่าง แรก ให้เราคลิ๊กปุ่ม ตกลงด้านล่างอีกทีเครื่องก็จะใส่สีของผนังที่เราเลือกไว้
d. ถ้าเราต้องการจะเปลี่ยนสีของฐานของแท่ง ก็ทำเหมือนกัน คือ ให้เม้าส์ชี้ที่ด้านล่างระหว่างแท่ง เครื่องจะขึ้นคำว่า พื้น จากนั้นก็ดับเบิ้ลคลิ๊กทำตามขั้นตอนด้านบนอีกที
3. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีด้านนอกของกราฟ
a. ให้เลื่อนเม้าส์ไปวางตรงมุมบนขวาภายนอกของกราฟ จะขึ้นคำว่า พื้นที่แผนภูมิ
b. ดับเบิ้ลคลิ๊กสองที จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบพื้นที่แผนภูมิ
c. ลงมาคลิ๊กที่ปุ่ม เติมลักษณะพิเศษ จะขึ้นหน้าต่างซ้อนขึ้นมา ชื่อว่า เติมลักษณะพิเศษ
d. ด้านบน คลิ๊กที่หัวข้อ พื้นผิว เครื่องจะขึ้นพื้นผิวต่าง ๆ ให้เราเลือก เมื่อเลือกเสร็จแล้ว ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลงด้านขวามือ เครื่องจะกลับมาที่หน้าต่างแรก ด้านล่างให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลงอีกที
เอกสารอ้างอิง
หาข้อเพิ่มเติมได้ที่
http://www.oho888.com

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การทำอาหารที่ควรรู้


แก้มดขึ้นตู้กับข้าว
เอาน้ำมันก๊าดหยอดลงไปในน้ำที่หล่อขาตู้ นอกจากจะกันยุงแล้วยังกันมดได้ด้วย

ดอกแควิธีทำให้ไม่ขม
ให้ตัดหรือเด็ดยอดเกสรจากดอกแค ซึ่งอยู่ข้างในของดอกที่มีสีเหลืองออกเสียก่อน จากนั้นนำไปรับประทานจะไม่รู้สึกขมเลย

ลวกหอยแครงให้แกะง่าย
ท่านที่ชอบรับประทานหอยแครง แต่ไม่ชอบแกะหอย เพราะเป็นการลำบากมาก เวลาต้มน้ำที่จะลวกหอยแครงลองใส่น้ำส้มสายชูลงไปพอประมาณ จะทำให้การแกะง่ายขึ้นมากอีกโขเลยทีเดียว

ต้มมันเทศให้อร่อย ยางไม่ติดภาชนะ
เมื่อท่านต้มมันเทศจะมียางติดภาชนะจนล้างไม่ออก ให้นำน้ำมันหมู หรือน้ำมันพืชใส่ลงในน้ำที่ต้มสัก 2-3 หยด ใส่เกลือตั้งไฟเมื่อใกล้สุกให้ใส่นมข้นหวานสัก 1 ช้อนโต๊ะ จะได้มันเทศมีรสหอมหวานอร่อยและยางไม่ติดภาชนะ

มะระไม่ขม
มะระปกติขม แต่มีวิธีทำให้ไม่ขมได้ เชื่อไหม ถ้าเชื่อก็โปรดฟังรายการมะระยัดไส้ นำมะระอ่อนๆ มาคว้านเอาเมล็ดออกแล้วคลุกด้วยน้ำปลา ผงชูรส พริกไทยป่น ให้มีรสอร่อยๆ ตามใจท่านแล้วก็ยัดใส่ในมะระ เสร็จแล้วก็ต้มน้ำให้เดือดใส่มะระลงไป ข้อสำคัญอย่าเปิดฝาหม้อเป็นอันขาด เมื่อแน่ใจว่าสุกก็ยกลงรับประทานรับรองว่าไม่ขม

เก็บถั่วงอกสดในตู้เย็นให้ได้หลายวัน
นำถั่วงอกที่เด็ดรากเรียบร้อย (หรือไม่เด็ดก็ได้แล้วแต่สะดวก) ใส่ภาชนะเทน้ำให้ท่วมถั่วงอก เสร็จแล้วนำไปแช่เย็นไม่ต้องเทน้ำทิ้ง วิธีนี้จะทำให้สามารถเก็บได้หลายๆ วัน โดยถั่วงอกไม่ดำและไม่เน่าเลย

เก็บข้าวสารหรือข้าวเหนียวได้นาน
ใช้ใบมะกรูดวางบนข้าวหรือใส่แทรกตามข้าวจะไม่มีมอด แมลง หรือหนอนรบกวนเลย ถ้าเก็บนานควรเปลี่ยนใบมะกรูดบ่อยๆ

กุ้งแช่เบียร์
วิธีทำอาหารจำพวกกุ้ง ให้มีรสชาติแปลกอร่อยขึ้น ลองเอากุ้งที่แกะเปลือกผ่าเอาขี้บนเส้นออกแช่ในเบียร์ที่เหลือทิ้งไว้ 15-20 นาที ก่อนที่จะนำไปประกอบอาหารอื่น

วิธีเลือกเผือก
การซื้อเผือก ถ้าท่านไม่เลือกหรือเลือกไม่ดี เผือกที่ท่านซื้อมานั้นอาจจะเสีย หรืออาจจะแก่เกินไปก็ใช้รับประทานไม่ได้ การเลือกเผือกนั้นท่านต้องเลือกหัวที่เบาๆ แล้วท่านจะได้เผือกที่ดีและไม่แก่เกินไป

ทอดกล้วยแขกให้อร่อย
กล้วยแขกหรือกล้วยทอด ถ้าต้องการให้นิ่มน่ารับประทานยิ่งขึ้นและไม่เสียรส คุณควรเติมไข่ขาวสัก 4-5 ใบ ต่อแป้ง 1.5 ลิตร ผสมชุบกล้วยทอด

เชื่อมกล้วยไข่ไม่ให้ดำ
เวลาเราเชื่อมกล้วยจะมีสีดำติดด้วย ถ้าจะให้กล้วยที่เชื่อมเป็นสีสวย เวลาเชื่อมให้ใส่มะนาวลงไปสัก 2 ชิ้น กล้วยจะมีสีสวยเพราะมะนาวจะกัดยางกล้วยออก

ทำกล้วยบวชไม่ให้เละ
หลายท่านคงทำกล้วยบวชเละมาหลายครั้งแล้ว วิธีทำไม่ให้มันเละง่ายนิดเดียว เอากล้วยที่จะบวชต้มเสียก่อนพอน้ำเดือดยกขึ้นบวช รับรองกล้วยบวชจะไม่เละอีกต่อไป

ต้มดอกขี้เหล็ก
การที่ต้มดอกขี้เหล็กไม่ให้ขมมาก เขาบอกว่าให้เอาสตางค์แดงล้างให้สะอาดต้มกับดอกขี้เหล็ก แล้วจะลดความขมลงมาก

วิธีคั้นมะนาวไม่ให้ขม
น้ำมะนาวขมเพราะน้ำมันที่ผิวของมะนาว วิธีทำไม่ให้ขม ควรนำมะนาวทั้งผลลวกน้ำร้อนเสียก่อน เพื่อชะล้างน้ำมันที่ผิวของมะนาว แล้วจึงผ่าซีกคั้นใส่ลงในน้ำตาลทรายละลายน้ำร้อนหรือน้ำเชื่อมผสมน้ำ เหยาะเกลือป่นลงไปเล็กน้อย ใส่น้ำแข็งดื่มจะได้รสชาติชื่นใจ และประหยัดสตางค์อีกด้วย

สูตรลวกผัก
เมื่อท่านต้องการอยากจะลวกผักให้มีสีเขียวจัดและน่ารับประทาน ต้องยึดหลัก 4 ประการคือ "น้ำน้อย ไฟแรง ปิดฝา เวลาสั้น" ผักที่ลวกโดยวิธีนี้จะมีสีเขียวสดและน่ารับประทาน

ทอดปลาให้หอมเหลือง
หั่นข่าชิ้นบางๆ ประมาณ 4-5 ชิ้น ใส่ในน้ำมันจนไหม้เกรียมเป็นสีเหลืองแล้วจึงทอดปลา ปลาจะมีกลิ่นหอมและมีสีเหลืองน่ารับประทาน ทดลองดูซิ

วิธีทอดปลาไม่ให้ติดกระทะ
มีวิธีดังนี้ คือ ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอร้อนเอาขิงฝานเป็นชิ้นบางๆ (ขิงสด) ลงกระทะประมาณ 4-5 ชิ้น เมื่อขิงเกรียมก็ตักออกทิ้งแล้วนำปลาลงทอด ปลาจะไม่ติดกระทะเลย

ย่างปลาทูเค็มไม่ให้เละ
ปลาทูเค็ม เมื่อเราซื้อมาจากตลาด เราก็แช่น้ำไว้ครู่หนึ่ง แล้วล้างออกให้สะอาดใช้ใบตองกล้วยมาห่อปลาทูเค็ม แล้วนำไปย่างพอใบตองไหม้หน่อยก็เอาออก จะทำให้ปลาทูเค็มของท่านไม่เละ

ไฟไหม้ในกระทะอย่าตกใจ
แม่บ้านเมื่อขณะปรุงอาหารประเภทผัดหรือทอดเกิดไฟลุกติดน้ำมันในกระทะ ไม่ต้องตกใจ ให้เอาฝาหม้อ หรือฝาลังถึงหรือฝาปิดกระทะครอบไว้ เท่านี้ก็เรียบร้อย ข้อควรระวัง อย่าราดน้ำหรือเป่าไฟเป็นอันขาด นอกจากไฟไม่ดับจะยิ่งลุกลามขึ้น

กระทะเหม็นคาว
ถ้ากระทะมีกลิ่นเหม็นคาวล้างไม่ออก ให้นำเอากากชามาต้มในกระทะสักครู่ กลิ่นเหม็นคาวจะหายไป

ก่อนใช้กระทะใหม่
กระทะที่ซื้อมาใหม่ไม่ว่าจะราคาแพงเท่าใดมักจะประสบกับปัญญาอาหารติดกระทะ ก่อนที่คุณแม่บ้านจะนำกระทะใบใหม่ออกมาใช้ทำกับข้าว ไม่ว่าจะเป็นกับข้าวชนิดใด ขอให้หุงข้าวชนิดเช็ดน้ำสัก 1 หม้อ แล้วนำเอาน้ำข้าวที่ได้เทลงในกระทะใบใหม่สักประมาณท่วมฝ่ามือ นำขึ้นตั้งไฟขนาดกลางๆ เคี่ยวไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำข้าวจะแห้งสนิทเหลือเป็นเพียงเกล็ดๆ คล้ายเกล็ดน้ำแข็งอยู่ติดก้นกระทะ นำลงแล้วทิ้งเอาไว้ให้เย็น แล้วนำกระทะไปล้างออกด้วยน้ำเย็นอีกครั้งให้สะอาด คราวนี้นำไปประกอบอาหารต่อไป กับข้าวจะไม่ติดกระทะอีกเลย

วิธีหุงข้าวให้กลิ่นสะอาด
ถ้าพบกับปัญหาหุงข้าวแล้วมีกลิ่นเหม็นต่างๆ เช่นเหม็นสาบ มีวิธีแก้ง่ายๆ ดังนี้ เวลาหุงข้าวให้ใส่น้ำมากๆ (หุงเช็ดน้ำ) พอข้าวเดือดก็พยายามใช้ทัพพีคน และตักฟองของน้ำข้าวที่กำลังเดือดออก ทำบ่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาเช็ดน้ำทิ้ง แล้วดงไฟตามปกติ ก็จะได้ข้าวที่กลิ่นไม่เหม็น ถ้าวิธีนี้ยังไม่หายก็ต้องใช้ถ่านหุงข้าวใส่อีกขั้นหนึ่ง ตอนดงไฟ (อย่าลืมล้างถ่านหุงข้าวให้สะอาดเสียก่อน) รับรองว่าจะได้ข้าวสวยที่มีกลิ่นสะอาดน่ารับประทานจริงๆ เพราะฟองของน้ำข้าวที่เดือดนั้นจะเป็นที่รวมของสิ่งสกปรกหรือสิ่งไม่ดีทั้งหลายที่มาปนอยู่ในข้าว ถ้าเราตักออกจะทำให้ข้าวสุกที่ได้ขาวดีอีกด้วย แต่อย่าลืมนำข้าวไปซาวน้ำหลายๆ ครั้งก่อน

หุงข้าวเหนียวไม่ให้แฉะ
เกิดการหิวข้าวเหนียวขึ้นมาแต่ไม่มีหวดนึ่ง มีวิธีการหุงข้าวเหนียวไม่ให้แฉะ คือต้มน้ำให้เดือด เอาข้าวสารข้าวเหนียวที่เตรียมไว้เทลงไป ปล่อยให้เดือดสัก 3 นาที แล้วรินน้ำทิ้งเปิดฝาเอาใบตองกล้วยปิดลงไปที่ปากหม้อ 2-3 ชั้น เอาฝาปิดดงไฟอ่อนๆ ไม่นานเปิดฝาออก จะเห็นข้าวเหนียวในหม้อไม่ต่างกับเอาใส่หวดนึ่งเลย

วิธีการล้างหอยแครง
ใช้น้ำธรรมดากะดูให้พอดี แล้วใส่เกลือลงไปในน้ำที่เตรียมไว้ แล้วใส่หอยแครงลงไปในน้ำที่ใส่เกลือขยำให้หอยแครงคายโคลนตม หรือแช่ทิ้งไว้สักครู่ หอยแครงจะคายโคลนตมออกมา และในตัวหอยแครงก็สะอาดน่ารับประทานมาก และก็ไม่มีเชื้อโรคด้วย

แก้มะละกอเหี่ยว
มะละกอดิบเหี่ยวเพราะซื้อมาทิ้งไว้หลายวัน ไม่ต้องทิ้ง มีวิธีทำให้สดดังนี้ นำปูนสำหรับเคี้ยวหมากมา 1 ช้อน ละลายกับน้ำธรรมดา ใช้น้ำพอประมาณ แล้วเอามะละกอที่เหี่ยวลงไปแช่ในน้ำปูน ไม่ต้องคอยให้น้ำปูนใส แช่ไว้ประมาณ 20-30 นาทีหรือจะแช่นานกว่านั้นก็ได้

ข้าวเหม็นไหม้
ผู้ที่หุงข้าวด้วยถ่าน มักประสบปัญหาข้าวเหม็นไหม้ (ที่เรียกกันว่าข้าวไหม้) เพราะไฟแรงเกินไปหรือขัดหม้อไม่สะอาด วิธีแก้ไขนอกจากใส่ไฟให้พอเหมาะและขัดหม้อให้สะอาดแล้ว เมื่อข้าวเหม็นไหม้ ก็ใช้ถ่านที่กำลังลุกแดงก้อนเล็กๆ 1-2 ก้อน ใส่ในข้าวแล้วปิดฝาหม้อไว้สัก 5 นาทีก็จะหายกลิ่นเหม็นไหม้แล้วตักถ่านและข้าวบางส่วนที่เลอะขี้เถ้าทิ้ง

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การผสมพันธุ์กบ


1. การผสมพันธุ์ในฤดูผสมพันธ์

ส่วนมากในคืนแรกหรือคืนที่ 2 หลัจงจากฝนตก กบจะทำการผสมพันธุ์ วางไข่แต่ อาจยึดเยื้อไปได้อีก โดยจะผสมพันธุ์วางไข่หลังจากฝนตกประมาณ 5-7 วัน เมื่อเลือกกบ ที่มีลักษณะดีแล้วให้นำมาปล่อยในบ่อผสมพันธุ์ในอัตราตัวผู้ 2 ตัวต่อตัวเมีย 10 ตัว (ตัวผู้กับตัวเมียมีขนาดเท่ากัน) ระดับน้ำในบ่อลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ภายในบ่อ ใส่พวกสาหร่ายลงไปด้วยพอประมาณ รักษาระตับน้ำให้คงที่ตลอดเวลา ในช่วงนี้งดให้ อาหารประมาณ 2-3 วัน ถ้ายังไม่มีฝนตกให้เปลี่ยนน้ำใหม่และอาจพ่นน้ำในบ่อผสมพันธุ์ ไห้เหมือนกับฝนตก หลังจากนันกบก็จะผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลาเช้ามืด

ภายในบ่อผสมพันธุ์จะใส่พันธุ์ไม้น้ำด้วย

2. การผสมพันธุ์นอกฤดู

ได้มีผู้คิดค้นและทดลองปฎิบัติกันหลายวิธี เช่น เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งจะเติมน้ำจนเต็ม บ่อเลี้ยงกบ และฉีดน้ำให้กบชุ่มชื้นอย่างน้อย 2 วันต่อครั้ง แล้วถ่ายน้ำออกปล่อยให้บ่อแห้ง ประมาณ 2-3 วัน เมื่อบ่อแห้งดีแล้วจีงทำการคลุมหลังคาให้ร่มครึ้มอย่างเดิมอีกครั้ง หลังจาก นั้นฉีดน้ำให้บ่อกบชุ่มชื้น 6-7 วันติดต่อกัน แล้วฉีดน้ำต่ออีก 15 นาที สังเกตว่าในตอน กลางคืนกบจะร้อง พอเช้าให้ฉีดน้ำในตอนเที่ยงและบ่ายครั้งละครี่งธั่วโมง หลังจากนั้นใน เวลาประมาณ 4 นาฬิกาถึง 5 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น กบก็จะจับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ จากนั้นก็จะแยกกันไปหลบในที่อาศัย ผู้เลี้ยงก็จะสามารถจับพ่อและแม่พันธุ์คืนสู่บ่อเลี้ยงเดิมได้


กรณีดังกล่าวนีค่อนข้างยุ่งยาก ทางที่ดีควรแยกเลี้ยงพ่อและะแม่พันธุ์กบ เมื่อ ต้องการจะเพาะก็คัดพ่อพันธุ์กบที่มีน้ำเชื้อดีและแม่พันธุ์ที่มีไข่แก่ลงบ่อเพาะที่เตรียมไว้ดัง ได้กล่าวแล้วข้างต้น กบจะผสมพันธุ์วางไข่ในคืนแรกหรือคืนที่ 2 ถ้ากบไม่วางไข่จะต้อง เปลี่ยนน้ำใหม่อีกครั้ง กบอาจผสมพันธุ์วางไข่ได้ แต่ถ้ากบยังไม่วางไข่ก็ต้อูปลี่ยนพ่อและ แม่พันธุ์ไหม่

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์


เป็นวิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลี้ยงกันได้ง่าย และสำหรับสถานที่ก็ใช้พื้นที่ไม่เยอะ และสามารถเคลื่อนย้ายท่อปูนซีเมนต์ได้ง่ายด้วย ค่าลงทุนในการการเลี้ยงก็ไม่มากสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ ส่วนผลตอบแทนก็เป็นที่น่าภูมิใจ จากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ร่วมด้วย ช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.สงขลา ได้พบกับคุณชาลี สุวรรณชาตรี อยู่บ้านเลข ที่ 319 ม.18 ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงปลาดุกในท่อ ปูนซีเมนต์ ได้บอกถึงวิธีการเลี้ยงปลาดุกด้วยระบบชีวภาพซึ่งมีขั้นตอนการ เลี้ยงดังนี้




การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมอุปกรณ์
1.ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
2.ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
3.ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
4.ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
5.ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
6.ตาข่าย
7.น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
8.ปูน ทราย หิน
9.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
10.พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
11.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก
1.จะต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย


2.นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง


3.นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง





การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
1.ถังพลาสติกที่มีฝาปิดจำนวน 1 ถัง
2.น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม
3.ฟักทองแก่ 3 กิโลกรัม
4.มะละกอสุก 3 กิโลกรัม
5.กล้วยน้ำหว้าสุก 3 กิโลกรัม

วิธีทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
หั่นมะละกอ, กล้วยน้ำหว้า, ฟักทองทั้งเปลือกและเมล็ดใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันและปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วเติมน้ำสะอาด 9 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วหมักต่ออีก 15 วัน

ประโยชน์
-เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย
-ปลาไม่เป็นโรค
-ปลาไม่มีกลิ่นสาบ
-ปลาไม่มีมันในท้อง
-ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยง
1.นำท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ
2.นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง


3.วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
4.นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
5.การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น

หมายเหตุ ก่อนให้อาหารต้องนำอาหารมาแช่น้ำก่อนเสมอประมาณ 10-15 นาที
เหตุผลเพื่อ
1.ปลาจะได้กินอาหารทุกตัว
2.ปลาตัวที่แข็งแรงจะทำให้ท้องไม่อืด
3.ปลาไม่ป่วย
4.การเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน
5.อาหารไม่เหลือในบ่อและน้ำก็ไม่เสีย
6.ถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือ 10 วัน/ครั้ง ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การจำหน่าย
1.ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี
2.ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท
3.ต้นทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี


หมายเหตุ : ราคาที่จำหน่ายปลาขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ ต้นทุนการผลิตขึ้นกับวัสดุและอุปกรณ์ในแต่ละท้องถิ่น

โรงเรือนกล้วยไม้


การสร้างโรงเรือนมีจุดประสงค์เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเจริญเติบโตและการออกดอกของกล้วยไม้ และเพื่อจัดวาง ต้นกล้วยไม้ให้เป็นระเบียบ สะดวกแก่การทำงาน โดยสร้างหลังคาโรงเรือนเพื่อพรางแสงให้เหลือ 50-70% ตามความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด (ตารางที่ 1) โครงสร้างของโรงเรือนควรแข็งแรง มีอายุการใช้งานมากกว่า 3 ปีขึ้นไป
ในปัจจุบันนิยมสร้างโรงเรือน 2 แบบคือ
1. สร้างโรงเรือนหลังใหญ่แล้วสร้างโต๊ะวางกล้วยไม้หรือราวแขวนไว้ภายใน
2. สร้างโต๊ะวางกล้วยไม้ และใช้ไม้ต่อจากโต๊ะขึ้นไปเพื่อทำหลังคา
โครงสร้างของโรงเรือนควรเป็นเสาคอนกรีตหรือแป๊ปน้ำ ฝังลึกในดิน 50 ซม. โรงเรือนสูง 2-3 เมตร ใช้ตาข่ายไนล่อนหรือซาแรนคลุมหลังคา เนื่องจากมีน้ำหนักเบาใช้ได้ง่าย และมีราคาถูกโดยขึงให้ตึงและยึดติดกับลวดให้เรียบร้อย
ตารางที่ 1 ลักษณะโรงเรือนของกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ

สกุล
แวนด้า
หวาย
ออนซีเดียม
แคทลียา
อะแรนด้า

ความสูงของโรงเรือน(เมตร)
%แสง
การวางต้นในเรือน
3.5-4
50-60
แขวน
2.5-3.5
50-60
วางบนโต๊ะ
2.5-3.5
50
วางบนโต๊ะ
3.5-4
50
แขวนหรือ
วางบนโต๊ะ 2.5พื้นที่โรงเรือนควรปูทรายและใช้แผ่นซีเมนต์ปูทางเดินเพื่อไม่ให้น้ำขังและสะดวกต่อการปฏิบัติงาน ส่วนโต๊ะวางกล้วยไม้ ควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 15-20 เมตร แล้วแต่ขนาดของโรงเรือนและเว้นทางเดินกว้าง 1-1.2 เมตร ราวแขวนซึ่งใช้กับกล้วยไม้ประเภทรากอากาศ เช่น แวนด้าอยู่ในระดับสูงจากพื้นประมาณ 2.5 เมตร แต่ละราวห่างกัน 40-50 ซม. และทุก ๆ 4 ราวควรเว้นทางเดินกว้างประมาณ 1 เมตร
วัสดุปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศ เช่น หวาย ออนซีเดียม และ Cattleya ต้องใช้เครื่องปลูกที่ระบายน้ำได้ดีและไม่อุ้มน้ำจนแฉะ หาได้ง่าย ราคาถูก และมีอายุใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 3 ปี เช่น กาบมะพร้าว หรือ แท่งอัดกาบมะพร้าว โดยนำต้นกล้วยไม้ผูกติดกับไม้ไผ่ปักบนเครื่องปลูก หรืออาจใช้วิธีขึงลวดตามความยาวโต๊ะๆ ละ 4 ราว แล้วผูกต้นติดกับราว เพื่อยึดไม่ให้ต้นล้มและให้รากเกาะติดเครื่องปลูกได้เร็ว ไม่ควรปลูกอัดกันแน่นไปและทำให้ช่อดอก กล้วยไม้ที่ได้มีดอกลดลงด้วย ตลอดจนเป็นแหล่งสะสมโรคแมลง
การย้ายต้นกล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลงปลูกในภาชนะ

เมื่อกล้วยไม้ในขวดมีรากและใบสมบูรณ์จึงนำออกจากขวดล้างวุ้นออกด้วยน้ำสะอาด แล้วปลูกลงในกระถางขนาดปากกว้าง 3.5-4.5 นิ้ว กระถางละ 25-40 ต้น เรียกว่ากระถางหมู่ โดยใช้ถ่านและออสมันด้าเป็นเครื่องปลูก เนื่องจากขณะลูกกล้วยไม้อยู่ในขวดจะได้รับสภาพที่มีความชื้นสูงมาก เมื่อนำออกจากขวดในระยะแรกจึงต้องปลูกเลี้ยงในสภาพที่มีความชื้นสูงและอับลม เช่น ตู้ที่คลุมด้วยพลาสติกใส รดน้ำให้ชุ่มปิดไว้ 2 วัน หลังจากนั้นจึงปิดฝาเฉพาะกลางวัน เปิดกลางคืนอีก 2 วัน แล้วเปิดฝาออกเลย 3 วัน จึงนำออกจากตู้พลาสติก วางไว้ในเรือนกล้วยไม้จนเจริญเติบโตได้ขนาด คือ ถ้าเป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้า ควรมีใบยาว 5-7 ซม. ส่วนกล้วยไม้ประเภทแตกกอควรมีลำลูกกล้วยสูง 5-7 ซม. จึงย้ายลงสู่ภาชนะที่มีขนาดใหญ่ขึ้น


50-70
วางบนโต๊ะ
หรือลงแปลง

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การแต่งหน้า


การแต่งหน้า
การลงรองพื้น

•เริ่มด้วยการแต้มครีมรองพื้น 5 จุด บริเวณหน้าผาก จมูก แก้ม 2 ข้าง และคาง

•เกลี่ยให้ทั่วใบหน้าจนเนียนเรียบ

•หากต้องการลงรองพื้นแบบเบาบาง ให้ใช้ฟองน้ำเกลี่ย แต่หากต้องการการปกปิดแบบหนาให้ใช้นิ้วมือในการเกลี่ย

•วิธีการจับฟองน้ำ ให้ใช้นิ้วกลางเป็นแกนหลักในการกดฟองน้ำให้สัมผัสกับผิวหน้า ในลักษณะคล้ายกับสปริง กดซับให้ทั่วใบหน้าจนกว่าจะเนียนเรียบ
การลงไฮไลท์

•ใช้ครีมรองพื้นรอบดวงตา ปกปิดริ้วรอยชนิดแท่ง สีอ่อน ลากเส้นไปตามบริเวณที่ต้องการปกปิด หรือจุดที่ต้องการเสริมให้โดดเด่น ได้แก่ ใต้ดวงตา (ปกปิดรอยคล้ำ) สันจมูก โหนกคิ้ว ร่องแก้ม และคาง

•ใช้ปลายนิ้วมือ (นิ้วกลางนิ้วนาง) เกลี่ยครีมเบาๆ จนกระทั่งเนื้อครีมเรียบกลมกลืนไปกับผิว

•นิ้วกลางหรือนิ้วนามจะมีสัมผัสที่เบา และมีคุณสมบัติในเรื่องของความอบอุ่น ซึ่งจะช่วยให้ครีมรองพื้นรอบดวงตาและ ปกปิดริ้วรอยชนิดแ่ท่งผสมเป็นเนื้อเดียวกับครีมรองพื้น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาการรองพื้นเป็นคราบได้ดี
การลงเฉดดิ้ง

•ใช้ครีมรองพื้นรอบดวงตาและปกปิดริ้วรอยชนิดแท่ง สีเข้ม ป้ายไปตามจุดที่ต้องการปกปิด เช่น รอยปาน กระ รอยแผลเป็น รวมถึงของจมูก เพื่อเสริมให้สันจมูกดูเด่นขึ้น จากนั้น ใช้นิ้วมือเกลี่ยให้เนียนกลมกลืน

•หากต้องการแก้ไขรูปหน้าให้เรียวขึ้น ให้ลากครีมรองพื้นรอบดวงตาและปกปิดริ้วรอยชนิดแท่ง เป็นเส้นไปตามแนวขากรรไกร ปีกจมูก คาง หรือหน้าผาก แล้วใช้ฟองน้ำเกลี่ยให้กลมกลืนทั่วบริเวณนั้นๆ

•ควรตรวจสอบให้มั่นใจทุกครั้งว่า บริเวณที่เฉดดิ้งไม่ทิ้งรอยคราบเป็นเส้นเ่ด่นชัด ถ้ามีควรเกลี่ยให้กลมกลืน
การทาแป้งฝุ่น

•ใช้พัฟฟ์แต้มแป้งฝุ่นแล้วนำมากดซับบนใบหน้าโดยใช้นิ้วกลางเป็นตัวลงน้ำหนักเพียงเบาๆ

•หากต้องการลงแป้งผุ่นแบบเบาบาง ให้ใช้พู่กันปลายใหญ่จุ่มแป้งฝุ่น เคาะแปรงเพื่อให้แป้งส่วนเกินหลุดออก ปัดให้ทั่วไปหน้าแทนการใช้พัฟฟ์

•หลังจากลงแป้งฝุ่นเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้พู่กันปลายใหญ่ปัดแป้งฝุ่นส่วนเกินออกให้หมดทุกครั้ง

•การลงแป้งฝุ่นควรลง 2 สี เพื่อเสริมสร้างมิติบนใบหน้าให้ดูเด่นชัดมากขึ้น คือ

•ใช้แป้งฝุ่นสีอ่อน สีแฟร์ บริเวณกึ่งกลางใบหน้าหรือจุดที่มีการลงไฮไลท์

•-ตามด้วแป้งฝุ่นสีเข้ม สีมีเดียม บริเวณกรอบหน้าหรือจุดที่มีการเฉดดิ้ง


การเขียนคิ้ว

•กันคิ้วให้ได้รูปก่อนเขียนคิ้วทุกครั้ง

•เริ่มเขียนจากหัวคิ้วไปจนถึงหางคิ้วโดยให้ส่วนหัวคิ้วตรงกับหัวตา จุดสูงสุดของคิ้ว ตรงกับขอบตาดำด้านนอก และความยาวของคิ้วให้ใช้พู่กันวางทาบจากปีกจมูกผ่านหางตาขึ้นมา

•ใช้พู่กันปลายตัดแต้มที่ทาตาแบบฝุ่นสีเดียวกับดินสอบเขียนคิ้วเกลี่ยทับเส้นคิ้ว โดยให้หัวคิ้ว สีอ่อนกว่าหางคิ้ว

•เกลี่ยให้สีจากดินสอเขียนคิ้วเป็นเนื้อเดียวกันกับที่ทาตาแบบฝุ่นให้เป็นธรรมชาติที่สุด


การเขียนขอบตา

•เริ่มเขียนจากของตาล่างจากหางตามาจนถึงกึ่งกลางตา โดยเขียนให้ชิดขอบตามากที่สุด

•ส่วนขอบตาบนให้เริ่มเขียนจากหางตามาจนถึงหัวตา โดยให้เส้นหางตาหนากว่าหัวตา

•บริเวณหางตาให้เขียนในลักษณะตัววี จากนั้นใช้ปลายดินสอเขียนขอบตาด้านที่เป็นฟองน้ำเกลี่ยเส้นขอบตาบนให้กระจายออก เพื่อทำให้ดวงตาดูนุ่มขึ้น

•ส่วนขอบตาล่างให้ใช้ปลายดินสอด้านที่เป็นฟองน้ำแต้มที่ทาตาแบบฝุ่นสีเีดียวกันเกลี่ยทับอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันการซึมเยิ้มระหว่าวัน


เติมแต่งขนตาด้วยมาสคาร่า

•เริ่มต้นด้วยการดัดขนตาก่อน โดยดัดเป็น 3 จังหวะหรือ โคนขนตา กึ่งกลางขนตา และสุดท้ายให้ดัดที่ปลายขนตา

•การปัดขนตาบน ให้มองต่ำและใช้มาสคาค่าปัดจากโคนขนตาออกมา ให้ปัดซ้ำอีกครั้ง หากต้องการให้ขนตาดูงอนหนามากขึ้น

•การปัดขนตาล่าง ให้เหลือบตาขึ้นข้างบนและใช้ปลายมาสคาร่าปัดเบาๆ


การลงสีลิปสติก

•ใช้พู่กันทาปากทางลิปสติกเติมภายในขอบปากที่วาดไว้ โดยเริ่มจากมุมปากล่าง เข้ามาที่ส่วนกลางของริมฝีปาก

•จากนั้น ทาลิปสติกที่ริมฝีปากบน เริ่มจากมุมปากเข้ามาที่ส่วนกลางเช่นกัน

•สีลิปสติกที่ใช้ควรเป็นสีเีดียวกับดินสอเขียนขอบปากเพื่อให้เกลี่ยได้กลมกลืนเป็นธรรมชาติ

40 วิธีการเป็นนักร้อง


40 วิธีการเป็นนักร้อง
1 . อย่ากระทำการใดก็ก็ตามที่ทำให้รู้สึกระคายเคืองต่อเส้นเสียง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บคอ

2. เมื่อคุณต้องการหาที่เรียนร้องเพลง ลองสอบถามดูว่าอาจารย์ที่จะมาสอนคุณเป็นใคร มีความเกี่ยวข้องและความสามารถ ทางดนตรีและการร้องเพลงอย่างไร

3. ถ้าคุณมีเนื้อเสียงที่ฟังแล้วดูเพราะดี อาจไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นนักร้องได้

4. เมื่อคุณร้องเพลง แล้วรู้สึกว่า ทำไมนะ เนื้อเสียงของเราดูแปลกๆ ไม่หวานซึ้ง ไม่ใสปิ๊ง เหมือนใครๆ อย่าตกใจ จงภูมิใจในสิ่งที่ตนมี และพยายามทำให้สิ่งที่คุณมีนั้นดูมีค่าที่สุด ด้วยการร้องอย่างเป็นคุณเอง


5. สำหรับคนที่ต้องการร้องเพลงในสไตล์ป๊อป ไม่แปลกเลยถ้าคุณจะเรียนร้องเพลงในทาง classic ในทางตรงกันข้าม หากคุณฝึกร้องเพลงในทาง pop ได้ดี ก็เป็นพื้นฐานที่ดีในการนำคุณไปสู่การร้องเพลงในทาง classic

6. ไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ นอกจากทำให้คุณเป็นมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯ แล้ว มันยังทำลายเส้นเสียงของคุณอีกด้วย

7. ไม่ควรดื่มสุรา นอกจากทำให้คุณเป็นโรคตับแข็ง พิษสุราเรื้อรัง รวมไปถึงการที่คุณต้องเมาพับไม่เป็นท่าแล้ว การดื่มสุรา อาจทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณเส้นเสียงของคุณขยายมากจนเกินไป เมื่อใช้เสียงในช่วงเวลานั้น อาจทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นแตก และเกิดอาการเส้นเสียงอักเสบได

8. ห้ามเด็ดขาดสำหรับการหันไปพึ่งยาเสพติด

9. ห้ามให้ใครทำอะไรกับเส้นเสียงของคุณเด็ดขาด แม้กระทั่งหมอ คุณก็ห้ามให้เค้าทำอะไรกับเส้นเสียงของคุณเด็ดขาด เพราะคุณอาจไม่มีเสียง หรืออาจร้องเพลงไม่ได้อีกเลย ถ้าเส้นเสียงของคุณเป็นอะไรไป หมอก็เป็นคน โอกาสผิดพลาดมีได้เสมอ แต่เรื่องเสียงไม่ควรให้ใครมาทดลอง หากพลาด นั่นคือหายนะของคุณเลยล่ะ

10. ห้ามตะโกนแหกปากเสียงดัง พวกนักร้องร็อค ไม่รู้ว่าคอทำด้วยอะไร ถึงสามารถทำได้ขนาดนั้น สำหรับปุถุชนธรรมดาทั่วไป ผมแนะนำว่า อย่าลอง!!

11. พยายามลืมไปได้เลยสำหรับเครื่องดื่มที่เย็นๆ คุณอาจชอบ (ผมก็ชอบ) เพราะเครื่องดื่มที่เย็นจัด ทำให้เส้นเสียงของคุณหดตัว การดื่มน้ำธรรมดา (น้ำไม่ร้อน-ไม่เย็น) ช่วยให้เส้นเสียงมีอุณหภูมิปกติ เหมาะแก่การใช้เสียงและร้องเพลง

12. อย่าพูดมาก....เดี๋ยวเส้นเสียงสึก

13. อย่าใช้ชีวิตอยู่ในที่ๆมีฝุ่นละอองมากๆ

14. อย่าไอแรงๆ หรือขากเสมหะแรงๆ เพราะอาจทำให้เส้นเสียงอักเสบได้ หากรู้สึกระคายคอจริงๆ ควรใช้วิธีกระแอมช่วยลดอาการระคายคอ

15. ถ้าอยากเป็นนักร้องนำ อย่าพยายามร้องในกลุ่มนักร้องประสานเสียงบ่อยๆ เพราะอาจทำให้ระบบการฟังของเราเสียไป เนื่องจากเราต้องฟังคนเสียงอื่นมากๆ ซึ่งร้องกันคนละแนวกับเรา โดยไม่ได้พัก
หมายเหตุ : การร้องประสานเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนที่ชอบฝึกการร้องในแบบขั้นคู่ แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยฝึกได้การฟัง (Ear Training) ไม่ควรร้องในวงประสานเสียงบ่อยๆ เพราะอาจทำให้เกิดอาการหูเพี้ยนได้

16. อย่าร้องเพลงทุกเพลงที่มีเสียงสูงหรือต่ำเกินขีดความสามารถของคุณ ควรเริ่มจากการฝึกเสียงที่คุณมีให้ดีก่อน แล้วหาครูแนะนำอย่างถูกต้อง

17. อย่าใช้เสียงอย่างหนักในการร้องเพลง เกินสัปดาห์ละ 3 ครั้ง พักเสียงบ้างเถอะ หากคุณยังรักมันอยู่ และต้องการใช้มันนานๆ

18. อย่าฝึก หรือพยายามใช้ลูกคอ หากคุณไม่มั่นใจว่าคุณเป็นคนที่ร้องเพลงได้ดี และสามารถควบคุมเสียงได้ตรง pitch แล้วล่ะก็ อย่ารีบร้อนฝึกหัดการใช้ลูกคอ เพราะนั่น อาจทำให้คุณเป็นนักร้องที่ไม่ได้เรื่อง เพราะเสียงของคุณจะแกว่งไปมา ไม่ตรง pitch สิ่งที่คุณควรทำคือการฝึกควบคุมเสียงให้นิ่ง ตรง pitch เมื่อคุณชำนาญในการควบคุมเสียงแล้ว จึงควรฝึกการใช้ลูกคอ

19. อย่าเต้นไปร้องไปเป็นเวลานาน ถ้าคุณรู้จักไมเคิล แจ๊คสัน แล้วลองสังเกตุคอนเสิร์ทของเค้าทุกคอนเสิร์ท คุณจะรู้ว่าเค้าร้องสดเพียงไม่กี่เพลง นอกนั้นต้องร้องลิปซิงค์ เพราะการร้องไปเต้นไปเป็นเวลานานๆ ทำให้เสียงของคุณหมดไวผิดปกติ เพราะคุณต้องใช้ความสามารถสูงในการควบคุมลมหายใจ เมื่อคุณกังวลกับท่าเต้นมากๆ กังวลกับลมหายใจทุกเพลง นั่นละ เสียงของคุณจะไม่เป็นท่าก็เมื่อนั้น

20. ไม่ร้องเพลงด้วยเสียงที่ดังที่สุดของคุณเป็นเวลานานๆ

21. รู้จักถามให้มากที่สุด เมื่อคุณเจอคนที่สามารถให้คำแนะนำคุณได้ในด้านการร้องเพลง

22. อย่าไปเรียนร้องเพลงกับคนที่เส้นเสียงเสีย ตำราฝรั่งเล่มหนึ่งบอกผมไว้ว่า ขนาดเสียงของครูผู้สอนยังเสียได้เลย แล้วเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าครูผู้สอนจะไม่ทำให้เสียงของเราเสียไปด้วย

23. ถ้าครูผู้สอนของคุณเป็นนักร้องชั้นยอด อลงพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาและวิธีการสอนของเค้าดูนะครับ ถ้าสอนดี ก็โอเคเลย แต่ถ้าสอนได้ไม่ดีให้คุณนึกถึงคำที่ผมบอกนะครับ "คนที่ร้องเพลงดี ไม่ได้หมายความว่าเค้าจะสามารถถ่ายทอดวิชาการร้องเพลงให้คุณได้ดี"

24. พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องปรับอากาศเป็นเวลานานๆ ก่อนการขึ้นเวทีเพื่อร้องเพลง เพราะนอกจากหนาวแล้ว ความเย็นของอากาศ ทำให้ความชื้นในร่างกายของเราระเหยไป อาจทำให้รู้สึกคอแห้งได้ เพราะเราสูดเอาอากาศที่แห้งกว่าเข้าไป พร้อมกับปล่อยอากาศชื้นออกจากตัวเรา

25. พยายามศึกษา และหาทางเรียนรู้เกี่ยวกับอวัยวะทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการร้องเพลง เช่น กล่องเสียง เส้นเสียง กระบังลม กล้ามเนื้อหน้าท้อง ฯลฯ

26. ถ้าการเรียนร้องเพลง หมายถึงการเรียนเทคนิคการใช้เสียงที่ถูกต้อง นั่นหมายถึงว่า เมื่อคุณเรียนร้องเพลง จะต้องได้รับความรู้และการฝึกฝน การใช้เสียงอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดอาการเจ็บคอ อันเนื่องมาจากการใช้เสียงมากเกินไป หรือผิดวิธี

27. การฝึกการร้องเพลง ควรฝึกอย่างช้าๆ ใจเย็นๆ อย่าคิดว่าการรีบร้อนฝึกหนักจะทำให้คุณเก่งในพริบตาได้ การฝึกซ้อมอย่างถูกต้อง พอดี และสม่ำเสมอทุกวัน ทำให้เสียงของเราค่อยๆพัฒนาไปอย่างมีระบบ

28. พยายามเรียนรู้การร้องในแต่ละสไตล์ให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ ยิ่งคุณรู้มากและทำได้มาก นั่นคือความสามารถเฉพาะตัวที่ยากจะหาใครเลียนแบบ

29. ดูแลรักษาช่องปากและฟันของคุณอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลมปากปอมสดชื่น เวลาคุณร้องเพลง

30. เมื่อคุณต้องร้องเพลง จำไว้ว่า คุณต้องรู้ความหมายของบทเพลงนั้นๆ ทุกคำ ทุกความหมาย ร้องให้ได้อารมณ์ตามนั้น ที่สำคัญ คุณอย่าได้อารมณ์เพียงคนเดียวนะ ผู้ฟังต้องได้ยินเสียงคุณแล้วรู้สึกได้ถึงอารมณ์ที่คุณต้องการสื่อด้วย

31. ร้องเพลงอย่างเดียวไม่พอแน่ ท่าทางคือสิ่งที่นักร้องหลายๆ คน แสดงออกมาอย่างไม่ได้เรื่อง ถ้าคุณร้องเพลงไปแล้วยืนตรงเหมือนคนเคารพธงชาติ คุณคิดว่าใครอยากจะมองคุณบ้าง ใช้หูเพื่อฟังคุณก็พอแล้วมั๊ง ถ้าคุณไม่อยากเป็นอย่านั้น เริ่มต้นฝึกการใช้ลีลาท่าทางซะ อย่าคิดว่าขึ้นเวทีแล้วมันจะได้เอง จากประสบการณ์แล้วนั้น ผมไม่เคยพบใครแม้แต่คนเดียวที่สามารถทำอะไรได้ดี โดยไม่ได้มีการฝึกซ้อมไว้ก่อน บางคนฝึกไว้แล้ว 100% ยังทำได้แค่ไม่ถึง 80% เอง เพราะฉะนั้นจงซ้อมไว้สัก 120-150 % แล้วคุณจะร้องได้ดี 100% เลย ผมรับรอง

32. ทำความเข้าใจดนตรี คุณควรรู้ว่านักดนตรีต้องการสื่ออารมณ์อย่างไร ในบทเพลงที่คุณร้อง ลองฝึกฟังดนตรีเยอะๆ พยายามทำความเข้าใจอารมณ์ที่สื่อออกมาจากดนตรีแต่ละประเภท แต่ละแนวเพลง

33. หลายคนชอบพูดว่า ไม่สามารถร้องเพลงแต่เช้าได้ หรือร้องเพลงตอนดึกๆ ไม่ไหว เพราะเสียงไม่มา ผมมั่นใจว่า ไม่มีคำๆ นี้ในพจนานุกรมของ นักร้องที่ได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ยกเว้น วันนั้นมันดันพิเรนท์ นอนดึกเสียงเกินกว่าเหตุ ดื่มสุรา หรือไม่สบาย

34. วิธีการรักษาเสียงของคุณอย่างง่ายๆ และได้ผล คือการนำผ้าชุบน้ำอุ่น มาประคบที่คอ เป็นเวลาประมาณ 10 นาที โดยช่วงนั้น คุณควรพักการใช้เสียงด้วย

35. รู้สึกเหมือนคอมีเสมหะตลอดเวลาเลย เรื่องแบบนี้แก้ไม่ยาก คุณสามารถล้างคอของคุณได้ ด้วยการดื่มน้ำอุ่น ผสมเกลือ 1/2 ช้อนโต๊ะ ผสมโซดา ทุกเช้า วิธีนี้ได้ผลดีเลยทีเดียว ในการกำจัดอาการระคายคอบ่อยๆของคุณออกไป

36. เมื่อต้องขึ้นเวที อย่าใส่เสื้อผ้าที่หนาๆ เพราะแสงไฟบนเวทีน่ะ "ร้อนมาก" ยืนพักเดียวก็เหงื่อชุ่มแล้ว ร้อนขนาดนั้น คุณคงไม่มีกระใจจะร้องเพลงสักเท่าไหร่หรอก

37. การเรียนรู้วิธีการร้องเพลง และการใช้เสียงอย่างถูกต้อง ต้องใช้เวลาในการเรียน และการฝึกฝนเท่านั้น ไม่มีวิธีลัดใดๆทั้งสิ้น

38. ฝึกการฟังเป็นประจำ ด้วยแบบฝึกหัดการฝึกฟัง การฟัง ทำให้คุณเป็นนักร้องที่ดีได้ เพราะถ้าคุณยิ่งแม่นยำในการฟังโน้ตเท่าไหร่ คุณก็จะสามารถขึ้นร้องเพลงบนเวทีได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะร้องเพี้ยน

39. หยุดซ้อมร้องเพลงได้ แต่อย่าให้เกินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การซ้อมเสมอๆ ย่อมดีกว่าการหยุดซ้อมเป็นประจำ

40. ดูแลตัวเองอยู่เสมอ ทั้งเรื่องเสียง หน้าตา สุขภาพร่างกาย เพื่อให้เราเป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดูดี สะอาดสะอ้าน ร่างกายแข็งแรง หน้าตาสดใส จิตใจปลอดโปร่ง พร้อมสำหรับการร้องเพลงอย่างมีคุณภาพ และเป็นนักร้องที่ดี

การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย



การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย
ต้องคำนึงว่าทำอย่างไร จะใช้ไฟฟ้าคุ้มค่าประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด ควรจะต้องเริ่มตั้งแต่รู้จักวิธีการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพให้เหมาะสมต่อการใช้งานตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจ
ในเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถ่องแท้จึงจะใช้เครื่องไฟฟ้าอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดพลังงานและยังมีผลดีต่อส่วนรวมของประเทศ
ในแง่ของการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ไฟฟ้ามีประโยชน์มากมายก็จริงแต่ในขณะเดียวกันก็มีอันตรายอยู๋ในตัวของมันเอง ถ้าใช้ผิดวิธีอาจเป็นอัตรายถึงชีวิตได้ เพราะความประมาทหรือเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยอาจนำมาซึ่งความหายนะและความสูญเสียต่างๆ แม้กระทั้งชีวิตของตัวผู้ใช้เอง
ผู้ใช้ไฟฟ้าจึงมีความจำเป็นต้องศึก1.ควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนว่าจ้างบริษัทหรือช่างที่จะดำเนินการออกแบบและเดินสายติดตั้งระบบไฟฟ้า
ว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความรู้ความชำนาญเท่านั้น
2.อุปกรณ์การติดตั้งทางไฟฟ้าต้องเป็นชนิดที่ได้รับมาตรฐานต่างๆ เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)
UL, VDE, IEC เป็นต้น
3.การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
4.ก่อนใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องอ่านและศึกษาคู่มือแนะนำการใช้งานให้เข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
5.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเปลือกหุ้มภายนอกทำด้วยโลหะทุกชนิด เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาจมีไฟฟ้ารั่วมากับน้ำจำเป็นต้องมีการต่อ
สายดินภายในบ้าน และใช้เต้าเสียบชนิดที่มีขั้วสายดินกับเต้ารับชนิดมีขั้วสายดินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ เช่น ตู้เย็น เตารีด หม้อหุงข้าว เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า หม้อต้มน้ำร้อน กระทะไฟฟ้า
เครื่องทำน้ำอุ่น เตาไฟฟ้า
เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
6.เมื่อร่างกายเปียกชื้น ห้ามแตะต้องส่วนที่มีไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอันขาดเพราะอาจมีไฟรั่ว และความต้านทานไฟฟ้าของผิวหนังที่เปียกชื้นลดลงอย่างมากทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านร่างกายได้โดยสะดวก
อาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นในการอาบน้ำ นอกจากจะต้องติดตั้งสายดินแล้ว จะต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพื่อเสริมการทำงานของสายดินให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย
7.ในการเดินสายไฟหรือลากสายไฟไปใช้งานนอกอาคารชั่วคราวหรือถาวร เช่น งานก่อสร้าง , ต่อเติม , ปรับปรุงนอกอาคาร นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเต้ารับนั้นจะต้องมีเครื่องตัดไฟรั่วด้วย จึงจะปลอดภัย
8.ควรแยกวงจรไฟฟ้าที่น้ำอาจท่วมถึง เช่น บริเวณชั้นล่างของอาคาร เพื่อให้สามารถปลดไฟออกได้ทันทีเมื่อเกิดน้ำท่วมหรืออาจป้องกันวงจรที่แยกออกนี้ด้วยเครื่องตัดไฟรั่วก็ได้
9.หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
10.ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตสิ่งผิดปกติจากสี กลิ่น เสียง และการสัมผัสอุณหภูมิ รวมทั้งการใช้เครื่องมือง่ายๆ เช่น
ไขควงหลอดไฟ เป็นต้น ตัวอย่างการสังเกต เช่น สีของสายเปลี่ยน มีกลิ่นไหม้ มีรอยเขม่า หรือรอยไหม้ มือจับสวิตช์ไฟหรือปลั๊กไฟแล้วรู้สึกอุ่นๆ เหล่านี้แสดงว่ามีความร้อนผิดปกติเกิดขึ้น อาจเกิดจากจุดต่อต่างๆ ไม่แน่นเต้าเสียบเต้ารับหลวม เป็นต้น
11.อย่าพยายามใช้ไฟฟ้าหรือเปิดสวิตช์ไฟฟ้า เช่น พัดลมระบายอากาศในบริเวณที่มีไอของสารระเหยหรือก๊าซที่ไวไฟปกคลุมอยู่เต็มพื้นที่
เช่น ก๊าซหุงต้ม ทินเนอร์ หรือไอน้ำมันเบนซิน
12.ให้ระมัดระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าราคาถูกที่ผลิตแบบไม่ได้มาตรฐาน นอกจากจะมีอายุการใช้งานสั้นแล้ว อาจไม่ปลอดภัยในการใช้งานโดยเฉพาะเรื่องอัคคีภัย
13.อุปกรณ์ที่มีการเสียบปลั๊กทิ้งไว้นานๆโดยที่ไม่มีผู้ดูแล เช่น หลอดไฟทางเดินหรือบันได, หม้อแปลงไฟขนาดเล็ก (ที่เรียกกันว่าอะแดปเตอร์) เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ขนาดเล็ก เป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ให้หลีกเลี่ยงการใช้ในบริเวณที่มีวัสดุติดไฟได้อยู่ใกล้ๆ
14.ทุกครั้งที่เลิกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ปิดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนและถอดปลั๊กออกจากเต้ารับทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดง่าย
15.อย่าพยายามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตนเองหรือโดยช่างที่ไม่มีความรู้ความชำนาญไม่เพียงพอเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท
จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ ตรวจสอบด้านความปลอดภัย เช่น เตาไมโครเวฟ ต้องมีการตรวจสอบของการรัวของคลื่นไมโครเวฟไม่ให้มีมากเกินอันตรายที่กำหนด หรือเครื่องใช้ที่มีสายดินต้องตรวจสอบความต่อเนื่องและฉนวนของสายดินกับสายศูนย์ เป็นต้น
16.หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือไฟฟ้าในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เช่น โทรทัศน์ วีดีโอ เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร โทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ชำรุดเสียหายเมื่อมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียง ให้ปิดเครื่องถอดปลั๊กรวมทั้งสายอากาศ และสายโทรศัพท์ออกจากเครื่องทุกครั้ง
17.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควบคุมการปิด-เปิด ด้วยรีโมทคอนโทรล หรือปุ่มสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์ โทรทัศน์ เครื่องเสียงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เมื่อปิดเครื่องจะมีไฟเลี้ยงวงจรควบคุมอยู่ตลอดเวลา จึงมักมีตัวอย่างของการเกิดอุปกรณ์ควบคุมภายในชำรุด และบางครั้งทำให้เกิดไฟลุกไหม้ทรัพย์สินเสียหายอยู่เสมอ ดั้งนั้นจึงควรถอดปลั๊ก หรือติดตั้งวงจรสวิตช์ตัดต่อวงจร เพื่อปลดไฟออกทุกครั้งที่เลิกใช้งาน
18.ฝึกฝนให้รู้จักวิธีแก้ไขและป้องกันรวมทั้งช่วยเหลือปฐมพยาบาล เมื่อมีอุบัติเหตุทางไฟฟ้าเกิดขึ้น ษาวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยควบคู่ไปด้วย

วิธีการใช้แอร์อย่างประหยัด


วิธีการใช้แอร์อย่างประหยัด
ปิดสวิตซ์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง
เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 ต้องเลือกใช้เบอร์ 5
ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมง สำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5
หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อย ๆ เพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10
ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ตรวจสอบและอุดรอยรั่วตามผนัง ฝ้าเพดาน ประตูช่องแสง และปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ
ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสีย และใช้พลังงานในการปรับอากาศภายในอาคาร
ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องที่มีการปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานจาก การถ่ายเทความร้อนเข้าภายในอาคาร
ใช้มู่ลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคาร และบุฉนวนกันความร้อนตามหลังคาและฝาผนัง เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป
หลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ ติดตั้งและใช้อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดประตูในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ


ควรปลูกต้นไม้รอบ ๆ อาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ 1 ต้น ให้ความเย็นเท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน หรือให้ความเย็นประมาณ 12,000 บีทียู
ควรปลูกต้นไม้เพื่อช่วยบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคา เพื่อเครื่องปรับอากาศจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป
ปลูกพืชคลุมดินเพื่อช่วยลดความร้อน และเพิ่มความขึ้นให้กับดิน จะทำให้บ้านเย็น ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเย็นจนเกินไป
ในสำนักงาน ให้ปิดไฟ ปิดเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ในช่วงเวลา 12.00-13.00 น. จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้
ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเริ่มงาน และควรปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเลิกใช้งานเล็กน้อย เพื่อประหยัดไฟ
เลือกซื้อพัดลมที่มีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง เพราะพัดลมที่ไม่ได้คุณภาพมักเสียง่าย ทำให้สิ้นเปลือง
หากอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรเปิดพัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ จะช่วยประหยัดไฟ ประหยัดเงินได้มากทีเดียว
ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน ใช้หลอดผอมจอมประหยัดแทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ หรือใช้หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์
ควรใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟหรือบัลลาสต์อิเล็กโทรนิกคู่กับหลอดผอมจอมประหยัด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดไฟได้อีกมาก
ควรใช้โคมไฟแบบมีแผ่นสะท้อนแสงในห้องต่าง ๆ เพื่อช่วยให้แสงสว่างจากหลอดไฟ กระจายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้หลอดไฟฟ้าวัตต์สูง ช่วยประหยัดพลังงาน
**ข้อมูลจาก 108 วิธีประหยัดพลังงาน ... สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ**

เอ็ดดูเวิลด์ ขอแนะเคล็บลับการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน


เอ็ดดูเวิลด์ ขอแนะเคล็บลับการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน
“เอ็ดดูเวิลด์
แนะ แนวทางเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนอย่างไรไม่ให้ถูกหลอก”


ผู้ให้สัมภาษณ์
คุณณัฐนิชา สถิตย์จินดาวงศ์ General Manager : Eduworld Overseas Study Center

โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนถือกำเนิดขึ้นมาจากแนวคิดของรัฐบาลอเมริกาในการแลกเปลี่ยนนักเรียนระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในหมู่เยาวชนว่า ถึงแม้มนุษย์ในโลกนี้มีความแตกต่างด้านความเป็นอยู่และวัฒนธรรม ภาษาที่ใช้ อาหารการกิน การแต่งกาย และท่าทาง สีผิวที่ต่างกัน แต่ในความต่างนี้ มนุษย์เราก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเข้าใจและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันของมวลมนุษยชาติ อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข


แนวคิดนี้ได้นำมาเป็นรูปธรรมโดยเป็นโครงการทำกันอย่างจริงจัง มามากกว่า 50 ปี โดยการนำนักเรียนในประเทศอื่นมาอยู่กับครอบครัวอเมริกันที่อาสาให้ที่พักและอาหารกับนักเรียนโดยต้องการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้วัฒนธรรมอื่นด้วย ในระยะแรกๆ มีการประเมินผลและได้ผลเป็นอย่างดี จึงเริ่มมีมูลนิธิต่างๆในอเมริกาทำโครงการนี้ร่วมกับรัฐบาลมากขึ้น และมีการขยายไปยังประเทศอื่นด้วยเช่น ประเทศในทวีปยุโรป และอเมริกาใต้ ออสเตรเลีย


ในปัจจุบันมีความต้องการนักเรียนจากประเทศในทวีปเอเชียมากขึ้น จึงมีการให้โควต้าแก่นักเรียนในประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วย ในปัจจุบัน จึงมีนักเรียนไทยที่เข้าร่วมโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน พร้อมกับมีองค์กรที่ประสานงานด้านนี้เพิ่มมากขึ้นด้วย


ลักษณะของโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนโดยทั่วไป เป็นการคัดเลือกนักเรียนที่ถือสัญชาติไทยที่มีทัศนคติที่ดี มีใจเปิดกว้างในการเรียนรู้สิ่งใหม่ เป็นตัวแทนเด็กไทยที่ดี อายุระหว่าง 14 – 18 ปี เข้าเรียนร่วมกับนักเรียนอเมิรกันในโรงเรียนมัธยมของรัฐบาล เป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา (ประมาณ 10 เดือน) โดยพักอยู่ร่วมกับครอบครัวอาสาสมัคร โดยนักเรียนควรเข้าร่วมกับกิจกรรมต่างๆในโรงเรียนเช่น เข้าชมรมกีฬาต่างๆ และกิจกรรมของมูลนิธิเช่น การทำกิจกรรมเพื่อสังคมอาทิเช่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุแคทีน่า อ่านหนังสือให้คนชรา เก็บขยะตามชายหาด รวมทั้ง เข้าร่วมกิจกรรมในครอบครัว และท่องเที่ยวตามโอกาส


สำหรับโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนของ EduWorld จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 6 โดยมีนักเรียนจนถึงปัจจุบันกว่าร้อยคน ก่อนเริ่มทำโครงการนี้ EduWorld ดำเนินงานเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาศึกษาต่อมากว่า 20 ปี ( ก่อตั้งปี 1987) ได้ทำการศึกษาและค้นคว้าความเป็นมาโครงการและประวัติมูลนิธิต่างๆพร้อมทั้งเดินทางไปเยี่ยมชมมูลนิธิที่ประเทศอเมริกา ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ และครอบครัวอาสาสมัครก่อนเริ่มประกาศรับสมัครโครงการ




คุณณัฐนิชา สถิตย์จินดาวงศ์ General Manager : Eduworld Overseas Study Center กล่าวถึง
สิ่งที่ EduWorld คาดหวังว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกท่านจะได้รับคือ “ทักษะภาษาอังกฤษควรจะดีขึ้น (อย่างน้อย 70 %) สองคือมีทักษะสังคมเพิ่มขึ้นและอยู่ร่วมกับผู้อื่น 50 % และสุดท้าย คือเด็กทุกคนจะต้องช่วยเหลือและดูแลตนเองได้ดีขึ้น ซึ่ง EduWorld จะยึดหลักในการดำเนินจุดนี้ว่า นักเรียนแลกเปลี่ยนทุกคนคือยุวทูต เป็นตัวแทนคนไทย ประเทศไทย เป็นทูตทางวัฒนธรรมของชาติ จึงทำให้ทาง EduWorld จะเน้นจัดปฐมนิเทศ และเข้าค่ายโดยรุ่นพี่สอนรุ่นน้อง เพื่อเน้นย้ำให้นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกทำหน้าที่นี้อย่างดี เพื่อให้ชาวต่างชาติรู้จักเมืองไทยประทับใจความเป็นไทย และ คนไทย นอกจากนี้ เมื่อจบโครงการ ทาง EduWorld จัดให้มีปัจฉิมนิเทศ เพื่อ ติดตามความเปลี่ยนแปลงของนักเรียน และ มุ่งเน้น ให้ นักเรียนนำสิ่งที่ดีในต่างแดน มาพัฒนาตนเอง และประเทศชาติ ในมุมกว้าง โครงการนี้ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีต่อกันของมวลมนุษยชาติให้ผู้คนทั่วโลกอยู่ร่วมกันได้อย่างเข้าใจและสันติสุข”


และจากการให้บริการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนักเรียนที่ผ่านมาของ Eduworld มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดหา และ Match Host Family ให้แก่นักเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและอาศัยเวลาพอสมควร ในการหาครอบครัวที่เหมาะสม ทั้งด้านฐานะ ความเป็นอยู่ บุคลิก อุปนิสัยและความชอบที่เข้ากันได้กับนักเรียน นอกจากนี้ การ Matching ยังยากและซับซ้อนขึ้นไปอีก ในเงื่อนไขที่ว่า ครอบครัวอาสาสมัครและโรงเรียนต้องอยู่ในระยะที่กำหนดไว้ด้วย


นอกจากนี้ การปรับตัวของนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ดำเนินโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนควรจะต้องมี tools ต่างๆเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้น้องๆ ทั้งก่อนการเดินทาง (ที่ EduWorld จัดให้มีการประชุมอย่างน้อย 3 ครั้ง และให้หลักสูตรเตรียมความพร้อมด้านภาษาแก่นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือก) สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ การติดตามดูแลน้องๆในระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกที่ไปถึงซึ่งเป็นช่วงแห่งการปรับตัว
ดังนั้นในส่วนของการดูแลนักเรียนของEduworld ณัฐนชา กล่าวว่า “เรามีการติดต่อประสานงานอย่างใกล้ชิดกับมูลนิธิที่อเมริกา นักเรียนทุกคนจะอยู่ภายใต้การดูแลของ CR หรือ ที่ปรึกษา ซึ่งจะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือนักเรียนในทันทีที่เกิดปัญหา นอกจากนี้ Counsellor ของ Eduworld ยังติดต่อกับนักเรียน ทั้งทาง Email และโทรศัพท์ ตลอด ในกรณีที่นักเรียนเกิดปัญหา ทางเจ้าหน้าที่ของเรา จะเป็นผู้ดำเนินการ ประสานงานกับมูลนิธิต่างประเทศและให้คำปรึกษาแก่นักเรียนโดยตรง เพื่อแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด


ด่านแรกที่ต้องผ่านการทดสอบคือ เรื่องภาษา
สำหรับวิธีการเตรียมตัวสำหรับนักเรียนที่สนใจเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน คุณณัฐนิชา กล่าวว่า “น้องๆควรเตรียมตัวเรื่องภาษาโดยเฉพาะทักษะการฟังและพูด เพราะเป็นด่านแรกที่จะต้องผ่านในการทดสอบ นอกจากนี้ ควรจะต้องดูหนัง ฟังเพลง ประเทศที่เป็นจุดมุ่งหมายของเราให้มากๆ เพื่อความเข้าใจในวัฒนธรรม และนำไปใช้ในการปรับตัว ให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในต่างแดนอย่างคุ้มค่า
ส่วนเกณฑ์ในการเลือกประเทศปลายทางที่ต้องการไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน เห็นว่าน้องๆควรจะมีความสนใจในวัฒนธรรมประเทศนั้นๆ และหากต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ก็ควรเลือกประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ อังกฤษ เป็นต้น


ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มประมาณ 2 – 3 แสนบาท
ในส่วนของค่าใช้จ่ายนั้น โดยปกติแล้วเวลาที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะส่งลูกไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศจะต้องเสียค่าใช้จ่าย ดังนี้คือ
1. ทุนสมทบที่ให้กับโครงการซึ่งมีตั้งแต่ 4,900 – 6,900 เหรียญ (ขึ้นอยู่กับความสามรถของนักเรียน) โดยเงินจำนวนนี้ ครอบคลุมค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก 1 ปีการศึกษา
2. Pocket Money นักเรียน เพื่อใช้เป็นค่าอาหารกลางวันและค่าใช้จ่ายจุกจิกอื่นๆในชีวิตประจำวัน โดยเฉลี่ย 100 – 300 เหรียญ ต่อเดือน ขึ้นกับการใช้จ่ายของนักเรียน
3. ค่าตั๋วเครื่องบิน และค่าธรรมเนียมวีซ่า
(ค่าตั๋วเครื่องบิน 60,000-80,000 บาท ราคาตั๋วขึ้นอยู่กับระยะทางและเมืองที่ไปอยู่
ค่าธรรมเนียมวีซ่า 4000บาท)
โดยสรุป ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประมาณ 250,000 – 350,000 บาท
คุณณัฐนิชา กล่าวต่อว่า “จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของ Eduworld พบว่ามีเรื่องที่พ่อแม่กังวลใจหรือเป็นห่วงเกี่ยวกับการส่งลูกไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ส่วนใหญ่เรื่อง ครอบครัวอาสาสมัคร จะเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่เป็นห่วงมากที่สุดค่ะ ความกังวลของคุณพ่อคุณแม่ ส่วนใหญ่จะกลัวว่าครอบครัวจะมีนิสัยใจคอที่เข้ากับลูกของตนไม่ได้ หรือ ดูแลลูกของตนได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองหรือเยาวชนอยากเลือกใช้บริการแลกเปลี่ยนนักเรียนจากบริษัทเอกชนต่าง ๆ ที่ให้บริการทั่วไป ควรจะใช้กรอบหรือหลักเกณฑ์ใดในการพิจารณาคัดเลือกบริษัทให้เหมาะสมและน่าไว้วางใจ เพื่อไม่ให้ถูกหลอก ดังนี้คือ
1. พิจารณาประสบการณ์การบริหารโครงการ เช่น เคยดูแลบริหารโครงการนี้มาก่อนหรือไม่
2. ความมั่นคงและน่าเชื่อถือขององค์กร มีผู้อ้างอิงได้หรือไม่
3. การให้ข้อมูลอย่างถูกต้องและตรวจสอบได้ เช่น ข้อมูลต่างๆเป็นความจริงหรือไม่ มูลนิธิในเมืองนอกที่องค์กรประสานงานมีตัวตนจริงหรือไม่”

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เป็นครูที่ดี..ใช่มีแค่เตรียมการสอน.


เป็นครูที่ดี..ใช่มีแค่เตรียมการสอน.
จากอดีตกาล จนถึงปัจจุบัน อาชีพที่ได้รับการยกย่องจากสังคมว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ และผู้คนในสังคมได้ให้ความศรัทธา เคารพ นับถือ อย่างจริงใจ เพราะถือว่าเป็นผู้ที่มีพระคุณต่อคนในครอบครัว ถึงขนาดให้เกียรติ ใช้คำนำหน้าเรียก “คุณ” ทุกครั้ง ที่กล่าวถึง คือ คุณหมอ กับ คุณครู ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในสังคม สามารถชี้นำ และเป็นที่พึ่งพิงของคนในสังคมได้



หากจะพิจารณาให้ดีจะพบว่า เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ ในวันข้างหน้า ดังนั้นอนาคตของประเทศชาติ จึงอยู่ในกำมือของ เยาวชน ที่จะเติบโตขึ้น ในขณะเดียวกัน อนาคตของ เยาวชน นั้น อยู่ในกำมือของ “ครู” ที่จะเสกสรร ปั้นแต่ง ให้สวยงาม เลิศหรู หรือ บูดเบี้ยวไร้ค่า ครู จึงเป็นเสมือนเบ้าหล่อหลอม หรือ แม่พิมพ์ที่จะทำให้ศิษย์ ได้รับการพัฒนาให้เป็น คน เต็ม คน คือ ได้รับการพัฒนาทั้งร่างกาย และจิตใจ อย่างสมบูรณ์ แบบ



ภาระหน้าที่ของครู จึงเป็นภาระที่หนัก เพราะการสร้างคนให้เป็น คน โดยสมบูรณ์นั้น จึงมิใช่เป็นเพียง การสอนหนังสือให้อ่านออกเขียนได้ และมีความรอบรู้เท่านั้น แต่ เป็นภาระความรับผิดชอบ ที่ผูกพันด้วยจิตวิญญาณอย่างต่อเนื่อง ที่ต้องอาศัยความเพียรพยายาม วิริยะ อุตสาหะ อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ครูที่ดี จึงต้องไม่เตรียม แค่การสอน แต่คนที่เป็นครูนั้น ต้องเตรียมทั้งกายและใจ ความคิด ประสบการณ์ ทั้งชีวิต เพื่ออุทิศ ทุ่มเทให้กับการสร้างคน เพื่อให้เป็น คนที่มีคุณภาพ และเมื่อคนมีคุณภาพ เราก็เชื่อมั่นว่า จะสร้างงานที่มีคุณภาพให้ชาติบ้านเมืองต่อไป





ครู สอนให้ศิษย์ มีความรู้ คือ รู้จัก คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ซึ่ง เป็นการเรียนรู้อย่างถาวร

ครู ขัดเกลาให้ศิษย์ รู้จักระงับยับยั้ง ควบคุมอารมณ์ ที่จะไม่ประพฤติในทางเสื่อม รู้จักอดกลั้นเอาไว้ให้ได้อย่างหนักแน่น คงเส้นคงวา รู้จักการรับรู้อารมณ์คนอื่น และรู้จักการให้อภัย









ครู อบรมให้ศิษย์ มีคุณธรรม จริยธรรม คือ สามารถละเว้นความชั่ว มุ่งมั่นทำความดี มีความยุติธรรม เชื่อมั่นศรัทธาในกุศลธรรม และกฎแห่งกรรม



ครู ชี้นำให้ศิษย์ มีความเพียรพยายาม ที่จะกล้าเผชิญกับความยากลำบาก มีมานะ บากบั่น อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง และ รู้จักแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ



จากภาระสำคัญของผู้เป็นครู ดังกล่าว ครูจึงต้องมีกลวิธีที่แยบคายในการสอน ให้ศิษย์ ได้เกิดการ เรียนรู้ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง กลวิธีในการสอนที่บูรพาจารย์ เคยใช้กันมาตั้งแต่อดีต จนประสบผลสำเร็จ สามารถสร้างคนให้เป็นใหญ่เป็นโต มีหน้าที่การงาน ถึงขั้นเป็นผู้นำประเทศ มาแล้ว ก็คือ





ต้องแนะให้เขาทำ

ต้องนำให้เขาคิด

ต้องสาธิตให้เขาดู

ต้องให้เขาเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง

ต้องสลัดทิ้งความเคยชินเก่าๆ

ต้องทำตัวของเราให้เป็นแบบอย่าง



พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่ได้พระราชทาน แก่เหล่าอธิการบดีทุกมหาวิทยาลัย มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ... จงอย่าผลิตบัณฑิตให้เป็นเพียง "คนเก่ง" เพราะความเก่งอย่างเดียวเป็นเพียงพลังแห่งความคิดและสร้างสรรค์ ... แต่จะต้องผลิตให้เป็น "คนดี" ด้วย เพราะความดีจะช่วยเตือนสติค้ำจุนเป็นหางเสือ ที่จะทำให้รู้ประพฤติดี ละเว้นความชั่ว ทำให้ความคิดและการสร้างสรรค์เป็นไปในทางที่ถูกที่ควรในปัจจุบันสังคมเรา โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิต เราอาจจะบกพร่อง โดยไปเน้นแต่จะเอาคนเก่ง ที่ขาดสติสัมปชัณญะ จึงปรากฏพบเสมอว่า ผู้ที่มีความรู้และเก่งนั้น มีความบกพร่อง

อยู่ 4 ประการ คือ

1. เห็นแก่ตัว

2. เห็นผิดเป็นชอบ ทุจจริตโดยไม่สะดุ้งสะเทือน

3. ทะนงตน ข่มผู้อื่น เย่อหยิ่ง

4. ไม่รอบคอบใจร้อน

การสอนให้ศิษย์เป็นทั้ง "คนเก่ง คนดี" นั้น จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของ ครูดังนั้นผู้เป็นครู จึงมิใช่ แค่เพียงสอนหนังสือให้เสร็จไปวันๆ เท่านั้น หัวใจสำคัญของคนที่เป็นครูก็คือ ต้องขัดเกลากิเลสให้กับศิษย์ เพราะนี้คือวิธีการบ่มเพาะ และสร้างคนให้เป็น คนเต็มคน ที่ดีที่สุด หากผู้ใดทำหน้าที่แค่เพียงสอนหนังสืออย่างเดียว โดยไม่ใส่ใจในความประพฤติของศิษย์ไม่ได้ชี้แนวทางในทางที่ถูก ที่ควร ในทางที่ดีที่งาม ให้กับศิษย์ เขาเหล่านั้นเป็นได้แค่เพียง ผู้รับจ้างขายวิชา มิใช่ ครู

กระจกเงา เรามี ไว้ส่องหน้า ให้รู้ว่า ดีเด่น เป็นไฉน

ครูอยากรู้ ตัวครู เป็นเช่นไร เชิญดูได้ เด็กที่ท่าน สั่งสอนมา




ศิษย์ดี ดูที่ครูดี : ครูดี ดูที่ศิษย์ดี

การเป็นพิธีกรที่ดี


การเป็นพิธีกรที่ดี
การเป็นพิธีกร
หน้าที่ของพิธีกร
พิธีกร (Master of Ceremony: MC) คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่าง ๆ เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ กำกับ / นำ / อำนวยการ ให้กิจกรรม รายการหรือ พิธีการต่าง ๆ ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จ เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์และกำหนดการที่วางไว้
1. เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟัง / ผู้ชม / ผู้เข้าร่วมพิธี โดยอย่างน้อยจะต้องมี ขบวนการดังต่อไปนี้ เช่น ตามลำดับ ในแต่ละกิจกรรม
1. แจ้งกำหนดการ
2. แจ้งรายละเอียดของรายการ
3. แนะนำผู้พูด ผู้แสดง
4. ผู้ดำเนินการอภิปรายและอื่น ๆ
2. เป็นผู้เริ่มกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการ เช่น
1. กล่าวทักทาย ต้อนรับเชิญเข้าสู่งาน
2. เชิญเข้าสู่พิธี ดำเนินรายการต่าง ๆ แล้วแต่กิจกรรม
3. เชิญ เปิดงาน – ปิดงาน

3. เป็นผู้เชื่อมโยงกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการต่าง ๆ เช่น
1. กล่าวเชื่อมโยงเหตุการณ์ตามลำดับ
2. แจ้งให้ทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ
3. แจ้งขอความร่วมมือ
4. กล่าวเชื่อมโยงรายการให้ชวนติดตาม
5. เป็นผู้ส่งเสริมจุดเด่นให้งานหรือกิจกรรมและบุคคลสำคัญในงานพิธี / รายการโดยพิธีกรจะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ในวาระที่เหมาะสม เช่น
6. กล่าวยกย่องสรรเสริญ ชื่นชมบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องในพิธี
7. กล่าวถึงจุดเด่นของงานพิธีนั้น ๆ
8. กล่าวแจ้งผลรางวัลและการมอบรางวัล
4. เป็นผู้ที่สร้างสีสัน บรรยากาศของงาน / พิธี / รายการ เช่น
1. ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเป็นระยะ
2. มีมุขขำขึ้นเป็นระยะ ๆ
5. เป็นผู้เสริมสร้างความสมานฉันท์ในงาน / กลุ่มผู้ร่วมงาน เช่น 1. กล่าวละลายพฤติกรรม
2. กล่าวจูงใจให้รักสามัคคี
6. เป็นผู้เติมช่องว่างและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในงานพิธีต่าง ๆ เช่น
1. กล่าวชี้แจงกรณีบุคคลสำคัญไม่สามารถมาช่วยงานพิธีต่าง ๆ ได้
2. กล่าวทำความเข้าใจกรณีต้องเปลี่ยนแปลงกำหนดการ
โฆษกผู้ประกาศ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงาน องค์กร กับประชาชน เพื่อให้ได้รับความสนับสนุนร่วมมือ อันจะทำให้กิจการงานนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จ ได้ตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการที่แตกต่างในแต่ละกิจกรรม เช่น
• การบอกกล่าว
• การชี้แจง
• การเผยแพร่
• แก้ความเข้าใจผิด
• การสำรวจประชามติ
บทบาทการทำหน้าที่ของโฆษกผู้ประกาศ โดยการใช้เครื่องมือด้านสื่อต่าง ๆ เช่น เอกสาร สื่อวิทยุโทรทัศน์ จัดเวทีประชาคม เดินสำรวจประชามติ เป็นกระบวนการประชาสัมพันธ์ ที่จะต้องดำเนินการต่อไป เช่นกระบวนการจัดกิจกรรมโดยใช้เวทีประชาคม ผู้ที่จะต้องทำหน้าที่ ในการควบคุม ดำเนินการให้ไปตามวัตถุประสงค์ในแต่ละครั้ง ผู้ที่เป็นพิธีกรในการดำเนินการรายการดังกล่าว จะต้องมีความเข้าใจ ในกระบวนการ และรู้หลักการวิธีการ ในการดำเนินการดังกล่าวนั้น ๆ เป็นภาระหน้าที่ของพิธีกรทั้งสิ้น ฉะนั้นจำเป็นที่จะต้อง ศึกษาบทบาทหน้าที่ของพิธีกรดังต่อไปนี้
พิธีกร คือ บุคลากรที่จะต้องพูดโดยใช้ความสามารถเฉพาะตนจากการฝึกฝนและศึกษาเท่านั้น ไม่ใช้สักแต่จะพูดอย่างเดียวไม่ มีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมที่จะต้องรับผิดชอบในด้านการพูดในตำแหน่งพิธีกร ฉะนั้น จะต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนจะเป็นการเริ่มต้นที่จะทำหน้าที่ในการเป็นพิธีกรในกิจกรรมต่าง ๆ พิธีกรหรือโฆษก อาจจะเป็นบุคคลคนเดียวกันในกิจกรรมนั้น ๆ สร้างความเข้าใจในข้อมูล ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของข้อเท็จจริง ให้ทัศนะ ในโอกาสที่จะต้อง ปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ ในแต่ละกิจกรรม พิธีกร จะถูกกล่าวถึงมากในกรณีที่เป็นทางการ ส่วนโฆษกจะเป็นคำที่เรียกใช้ในส่วนที่ก่อนถึงเวลาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ หรือบางครั้งในท้องถิ่นชนบทจะเรียกรวมกันเช่น “ โฆษกพิธีกร ดำเนินการ ต่อไป ” ไม่ว่าจะเรียกว่าพิธีกรหรือโฆษกในกิจกรรมนั้น ๆ จะต้องเป็นการพูดคุยในที่ชุมชน นั่นคือต่อคนส่วนมากทุกครั้งเป็นการพูดในที่ชุมชน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก หากพูดผิดก็จะทำให้เสื่อมเสียแก่ตนเองและองค์กร และถ้าหากทำดีพูดดีก็จะมีสง่าราศีแก่ตนเองเช่นกัน ดังสุภาษิต ของสุนทรภู่ที่ว่า
“ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดอยู่ที่พูดให้ถูกทาง ”
ฉะนั้น คนที่เป็นพิธีกรที่ดี มีความสามารถจะต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้ในหลักการ กลยุทธ์ในการพูดคุยต่าง ๆ ดังนี้ เช่น
• เตรียมพร้อม
• ซ้อมดี
• ท่าทีสง่า
• หน้าตาสุขุม
• ทักที่ประชุมอย่าวกวน
• เริ่มต้นให้โน้มน้าว
• เรื่องราวให้กระชับ
• จับตาที่ผู้ฟัง
• เสียงดังให้พอดี
• อย่าให้มีอ้ออ้า
• ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา
บุคคลที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเตรียมตัวในการทำหน้าที่ จะมี 2 กลุ่มคือ
1. รู้ตัวก่อนและจะต้องเตรียมตัว
2. ไม่รู้มาก่อน จะต้องไปใช้ปฏิภาณ ไหวพริบทุกคนทำได้

เส้นทางสู่การเป็น ..แอร์โฮสเตส


เส้นทางสู่การเป็น ..แอร์โฮสเตส
คุณสมบัติ


คุณสมบัติตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนดไว้เราต้องมีเบสิกก็คือ


1. เราต้องมีอายุระหว่าง 20-26 ปี จบการศึกษาอย่างน้อยปริญญาตรี

2. ส่วนสูง 160 เซนติเมตรขึ้นไป น้ำหนักก็ต้องสัมพันธ์กับส่วนสูงด้วย

3. สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และที่เราต้องเตรียมคือหัดว่ายน้ำ เพราะจะมีทดสอบให้ว่ายไปกลับ 50 เมตร

4. ภาษาอังกฤษต้องมีผลสอบโทอิคไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน

5. การแต่งตัวในวันที่ไปสมัครควรแต่งให้สุภาพที่สุด ถ้าเป็นของสายการบินไทย ควรใส่เสื้อเชิ้ตแขนสั้น

สีขาว กระโปรงสีดำ รองเท้าสีดำหุ้มข้อสูง 2 นิ้วนะค๊ะ และก็อย่าใส่กระโปรงทรงยาว

6. เรื่องทรงผม ห้ามปล่อยผมเด็ดขาด ควรจะรวบผมหรือบางทีอาจจะไปเกล้าผมที่ร้านก็ได้ แต่ไม่ต้องเอา

เวอร์มากนะคะ พอดูสุภาพ หรืออาจจะแสกกลางแล้วรวบคลุมเน็ตก็ได้จร้า



ถ้ามีความสามารถภาษาอื่นด้วยบริษัทจะพิจารณาเป็นพิเศษ นอกจากนั้นต้องเตรียมเรื่องบุคลิกภาพด้วย ซึ่งเราต้องอาศัยถามรุ่นพี่ๆ ที่เป็นแอร์ฯได้ว่าต้องทำยังไงบ้าง รุ่นพี่ก็จะช่วยแนะนำว่าต้องแต่งตัวไปยังไง ให้เรียบร้อยดูดีแบบไหน” เมื่อผ่านมาตรฐานตามที่บริษัทกำหนด ก็กรอกใบสมัครซึ่งเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ ฉะนั้นจึงต้องเตรียมตัวด้านภาษามาให้ดี ขั้นต่อไปคือการสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการจำนวนหลายคนอาจจะทำให้เกิดความตื่นเต้นได้ ที่สำคัญควจะมีสมาธิและต้องเตรียมควมมพร้อมมาให้เยอะๆนะจ๊ะ







· การฝึกอบรม



“สัปดาห์แรกของเราพอเข้ามาปุ๊บต้องเทรนเรื่องเวชศาสตร์การบิน 5 วัน เรียนเรื่องยา การทำคลอด คือสามารถเป็นผู้ช่วยแพทย์ได้ในกรณีที่มีแพทย์อยู่ด้วย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การให้ยาท้องเสีย ท้องอืด หอบกับหืดต่างกันยังไง ลักษณะโรคต่างกันยังไง เทรนตรงนี้ 5 วัน พอเสร็จตรงนี้ก็จะถูกส่งมาฝึกทางด้านความปลอดภัยของแต่ละชนิดเครื่องบิน อุปกรณ์ฉุกเฉินอยู่ตรงไหน ฝึกดับไฟก็ต้องดับไฟจริงๆ ลงน้ำก็ใช้ชูชีพ ใช้ชูชีพยังไง อยู่ยังไง รักษาความอบอุ่นกันยังไง ในกรณีที่เราต้องดำรงชีวิตอยู่ในทะเล กระปำยา อุปกรณ์ฉุกเฉิน แล้ก็ค่อยฟังคำสั่งว่าเราจะไปด้วยกันยังไง ถึงตอนนี้เราจะต้องทำอย่างนี้ๆ นะ ขั้นตอนการให้บริการผู้โดยสาร ในส่วนของอาหารต้องเรียนแม้กระทั่งประโยชน์สมุนไพร โภชนาการ วิธีการประกอบอาหาร อาหารอย่างนี้ประกอบยังไง เพราะบางคนบางศาสนาผู้โดยสารอาจทานไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือบางคนทานมังสวิรัติ ก็ต้องรู้ บางคนทานแป้งสาลีไม่ได้เพราะเลือดจะออกในกระเพาะ ก็จะมีอาหารอีกประเภทสำหรับคนประเภทนั้น รายละเอียดเยอะมาก ถ้าเป็นเครื่องดื่มอย่างเช่นในไวน์แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร เหมาะกับอาหารประเภทไหน กิริยามารยาทก็ต้องฝึก เช่น ไม่ใช้การชี้นิ้วมือ แต่ใช้การผายมือแทน เพราะสุภาพกว่า ซึ่งตรงนี้คุณครูจะสอนมารยาทละเอียดมาก” การอบรมใช้เวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ เมื่อผ่านอบรมแล้วก็จะได้ขึ้นเครื่องจริงๆ เพื่อทดลองงาน เที่ยวบินแรกของสุตาคือพม่า เธอบอกตื่นเต้นมาก งานของเธอบนเที่ยวบินแรกคือการขึ้นไปช่วยงานบริการพี่ๆ แอร์โฮสเตสถือเป็นการสังเกตการณ์ เรียนรู้งาน ไฟลท์สังเกตการณ์จะมีทั้งหมด 4 ครั้งเมื่อบินเสร็จแล้วต้องกลับมาเข้าคลาสเรียนอีก ครูผู้อบรมจะให้แรกเปลี่ยนประสบการณ์กันว่าไปบินแล้วรู้สึกอย่างไง โดยคุณครูจะคอยเพิ่มเติมความรู้ให้ตลอด






· เส้นทางการทำงาน




หลายคนคงอยากรู้ว่าแอร์โฮสเตสทำงานกันอย่างไง สุตาเล่าให้ฟังว่าพวกเธอต้องมาก่อนไฟลท์ที่จะบิน 2 ชั่วโมงโดยมาพบกันที่สำนักงานกลาง ทุกคนต้องศึกษาว่าวันนี้จะบินไปที่นั่นที่นี่ เวลาต่างกันเท่าไหร่ ต้องรู้ว่ากัปตันครั้งนี้ชื่ออะไร พี่หัวหน้าแอร์คือใคร อินไฟลท์เมเนเจอร์เป็นใคร มีบริการแบบไหน มีเรื่องพิเศษอะไรบ้างมีผู้โดยสารที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษยังไง อาหารที่เสิร์ฟ เครื่องดื่มวันนี้เป็นยังไง นอกจากนั้นทุกคนจะต้องดูวีดีโอเกี่ยวกับความปลอดภัยของเครื่องนั้นๆ ที่โดยสาร เพื่อทบทวนและมีการทดสอบกันอีกทีในห้องก่อนที่จะออกไปสนามบินด้วยกัน

“แล้วเราจะต้องมาถึงเครื่องก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง พอไปยืนบนเครื่องคราวนี้จะเป็นเรื่องของการเตรียมการทุกคนที่ได้รับหน้าที่ว่าใครจะต้องประจำอยู่ ณ ตรงไหน ตรวจเช็กอุปกรณ์ความปลอดภัยของตัวเองให้พร้อม เปลี่ยนชุดเตรียมให้บริการ เช็กอุปกรณ์ทุกอย่าง อุปกรณ์ความปลอดภัยครบมั้ย ห้องน้ำเป็นยังไง อาหารเป็นยังไง อาหารพิเศษของผู้โดยสารที่ต้องดูแลพิเศษมาหรือยัง พอพร้อมแล้วพี่หัวหน้าแอร์ฯจะบอกว่าเตรียมรับผู้โดยสารได้เลย ทุกคนก็จะมายืนประจำเพื่อต้อนรับผู้โดยสาร” ตลอดทั้งเที่ยวบิน พวกเธอก็ต้องคอยดูแลผู้โดยสารซึ่งใช้กำลังเยอะทีเดียว ทั้งเข็นรถอาหาร เสิร์ฟอาหาร เครื่องดื่ม ดูแลความเรียบร้อย เรียกว่าต้องเดินตลอดการเดินทาง ทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง ฉะนั้นพวกเธอจึงต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเสมอ “ชั่วโมงบินมันนาน ตัวเราเองก็ต้องพักผ่อนให้เพียงพอก่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความดันอากาศ อากาศที่เปลี่ยนแปลง แล้วเราต้องเดินทางอยู่บ่อยๆ เวลานอนก็ไม่เหมือนคนที่ทำงานประจำ ฉะนั้นเราต้องดูแลตัวเองดีๆ ถ้าไม่ไหวไม่สบาย หรือรู้ตัวว่าตัวเองเป็นหวัด ถ้าเป็นหวัดหูอื้อ ก็จะไม่ไป แต่ถ้ายังขืนขึ้นไปนี่อาการหูบล็อกมันอันตราย จะไม่ไปเลยนะคะ เพราะว่านอกจากไม่ดีกับตัวเองยังไปทำให้เพื่อนร่วมงานเหนื่อยขึ้นอีก ถามว่าเหนื่อยมั้ย ชินแล้ว พอกลับมาเราก็พักผ่อนเต็มที่ ทางบริษัทเขาก็จัดวันหยุดให้เรา ในการที่จะทำการบินแต่ละครั้งนี่บริษัทคำนวณไว้แล้ว เขาจะมีอัตราค่าความเหนื่อยให้ว่าเราจะต้องพักผ่อนเท่านี้เพื่อความปลอดภัย เพราะฉะนั้นทุกอย่างมันถูกควบคุมด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว เราก็ทำหน้าที่ควบคุมตัวเราเองอีกที เพราะบางทีเราไปในประเทศที่ร้อนจัดแล้วไปประเทศที่เย็น เราก็ต้องเตรียมตัว”

การสอบเป็นผู้พิพากษา


การสอบเป็นผู้พิพากษา
คุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก

ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
4. เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตสภา
5. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
6. ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
7. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
8. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
9. ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
10. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการหรือ เป็นโรคที่ระบุไว้ในระเบียบ ก.ต. และ
11. เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.ต. กำหนด และ ก.ต. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้

หลักฐานในการสมัครสอบ

1. ภาพถ่ายปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต (แสดงต้นฉบับด้วย)
2. ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมาย ฯ (แสดงต้นฉบับด้วย)
3. สำเนาทะเบียบบ้าน หรือ บัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกัน)(แสดงต้นฉบับด้วย)
4. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย (กรณีเป็นทนายความ ให้นำหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความมายื่นด้วย)
5. ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน)
6. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 4 รูป (เขียนชื่อ-สกุลด้านหลัง)
7. เงินค่าธรรมเนียมการสอบ 100 บาท
8. เงินค่าตรวจร่างกาย 600 บาท (จ่ายวันไปตรวจร่างกาย)

กรณีเคยสมัครแล้วและมีสิทธิสอบใช้หลักฐานเฉพาะใบสมัครและข้อ 5, 6, 7 และ 8

การสอบคัดเลือก มีการสอบข้อเขียน 3 วัน

วันที่หนึ่ง สอบวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา จำนวน 10 ข้อ เวลา 4 ชม. คะแนนเต็ม 100 คะแนน

วันที่สอง สอบวิชากฎหมายลักษณะพยาน จำนวน 3 ข้อ วิชากฎหมายพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมกับกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวง จำนวน 1 ข้อ และให้เลือกสอบในลักษณะวิชา กฎหมายล้มละลาย กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายปกครอง กฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศวิชาใดวิชาหนึ่ง จำนวน 2 ข้อ รวมจำนวนข้อสอบทั้งหมด 6 ข้อ เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม 60 คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม 10 คะแนน สำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะ วิชาใดในวันสมัครสอบ

วันที่สาม สอบวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน10 ข้อ เวลา 4 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 100 คะแนน
การสอบปากเปล่า เนื้อหาครอบคลุมลักษณะวิชาที่สอบข้อเขียน ตามแต่คณะ อนุกรรมการสอบฯจะเห็นสมควรกำหนดเวลาประมาณคนละ 15 นาที คะแนนเต็ม 100 คะแนน

เกณฑ์ที่จะได้บรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ

ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าและต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของคะแนน ทั้งสองอย่างรวมกัน

วิชาชีพทางกฎหมายที่ ก.ต. รับรอง

1. ทนายความ
2. จ่าศาล,รองจ่าศาล
3. ข้าราชการ พนักงานเทศบาลหรือลูกจ้างส่วนราชการปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
4. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
5. เจ้าพนักงานบังคับคดี
6. พนักงานคุมประพฤติ
7. อัยการ
8. นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ
9.อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
10. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
11.เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน ป.ป.ป.
12. ลูกจ้างกระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานบังคับคดี
13. นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.)
14.ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
15.พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานในสถาบันการเงินที่ ก.ต.รับรอง ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร

นิติกรในสถาบันการเงินที่ ก.ต. รับรองไปแล้ว

1. ตำแหน่งเจ้าหน้าที่กฎหมาย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. ตำแหน่งนิติกร ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ จำกัด (มหาชน)
3. ตำแหน่งเสมียน ธนาคารไทยทนุ จำกัด
4. ตำแหน่งผู้ช่วยนักวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด
5. ตำแหน่งงานนิติกรรม ธนาคารอาคารสงเคราะห์
6. ตำแหน่งนิติกร ธนาคารทหารไทย จำกัด
7. ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย ฝ่ายกฎหมายธุรกิจหลักทรัพย์
บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)
8. ตำแหน่งนิติกร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ ไฟน์แนนซ์ จำกัด (มหาชน)
9. ตำแหน่งพนักงานชั้นกลาง แผนกธุรกรรมกฎหมาย
10. บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ จำกัด (มหาชน)
11. ตำแหน่งนิติกรธนาคารนครธน จำกัด (มหาชน)
12. เจ้าหน้าที่นิติกรรมสัญญา บริษัท เงินทุนภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)
13. ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายกฎหมาย บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์เอ็มซีซี จำกัด (มหาชน)
14. เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
15. นิติกรอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์