จำนวนผู้ชม

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การใช้โทรศัพท์มือถือ


ผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือ
Tuesday, 23 August 2005 12:20 -- ทั่วไป
กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--สภาสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
รศ.ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานสภามนตรี สสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท.) กล่าวว่า ในระหว่างงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 23-28 สิงหาคม ณ อิมแพค เมืองทองธานี สสวทท. ได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดนิทรรศการมนุษย์และสิ่งรอบตัว และหนึ่งใน 4 ของหัวข้อที่นำเสนอ ได้แก่การสร้างจิตสำนึกการป้องกันภัยรอบตัวเรา ในที่นี้ จะได้มีการนำเสนอข้อมูล เรื่อง ผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือ จากสมาคมพิษวิทยา เพื่อให้ผู้สนใจนำไปเผยแพร่ด้วย

ปัจจุบันการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สื่อสารสำคัญในชีวิตประจำวันของประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ใช้มากกว่า 20 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการใช้โทรศัพท์มือถือมีประโยชน์ทำให้การติดต่อสื่อสารด้วยวาจา พร้อมทั้งการส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ช่วยให้ความเป็นอยู่ของคนไทยและเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการใช้โทรศัพท์มือถือ แนบหูครั้งละนาน ๆ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ โดยจากการวิจัยของแพทย์นักวิทยาศาสตร์หลายท่าน เตือนว่าผู้ที่ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอาจมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคได้หลายชนิด อาทิ ปวดศีรษะ มะเร็งสมอง หูอักเสบ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและความจำเสื่อม ฯลฯ เป็นต้น

ดร.ดนัย ทิวาเวช กรรมการสมาคมพิษวิทยา และรองเลขาธิการของ สสวทท. กล่าวว่า ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีโดยตรง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คือ ในระยะสั้น จะมีอาการปวดหู ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว มึนงง ขาดสมาธิ และเกิดความเครียดนอนไม่หลับ สำหรับผลในระยะยาว อาจทำให้เกิดโรคความจำเสื่อม โรคมะเร็งสมอง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น

ข้อแนะนำสำหรับประชาชนหรือผู้บริโภค เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายในอนาคต คือ 1 ) ควรใช้แต่ละครั้งให้น้อยลง 2) ควรใช้อุปกรณ์หูฟังทุกครั้งที่ใช้ เพราะจะทำให้ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน้อยลง 3) หลีกเลี่ยงการใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ เพราะคลื่นแม่เล็กไฟฟ้าจะผ่านกะโหลกศีรษะของเด็กเข้าสู่เยื่อสมองได้ลึกกว่าของผู้ใหญ่ 4) หลีกเลี่ยงใช้ในที่มีสัญญาคลื่นโทรศัพท์จากสถานีส่งต่ำ เพราะผู้ใช้จะได้รับปริมาณคลื่นที่ส่งออกมาจากโทรศัพท์มือถือสูงกว่าปกติ 5) หลีกเลี่ยงการใช้ในขณะขับรถ เพราะทำให้ขาดสมาธิ จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 6) หลีกเลี่ยงการใช้ในขณะเติมน้ำมันรถยนต์ เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ได้ 7) ควรปิดมือถือก่อนเข้าไปในบริเวณที่มีการรับจ่ายน้ำมันและก๊าซ และการขนย้ายเชื้อเพลิงหรือสารเคมี

ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐบาลที่รับผิดชอบ ควรจะมีการให้ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการที่ถูกต้อง และทันเหตุการณ์กับประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจ ทำให้หมดความสงสัย และการตื่นตระหนก และสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการใช้โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งมีมาตรการควบคุมอันตรายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยมีประสิทธิภาพและมีผลดีขึ้นในอนาคต

สารพิษรอบตัว
รศ.ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานสภามนตรี สสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น